“BOQ” สำคัญอย่างไร?? ทำไมต้องมีก่อนสร้างบ้าน

สร้างเมื่อ Mar 30, 2023

หากเพื่อนๆ คนไหนมีแพลนที่กำลังจะสร้างบ้านนั้น อาจจะเคยได้ยิน ใบ “BOQ” ผ่านหูมาบ้างแล้ว แต่สำหรับเพื่อนๆ ที่เพิ่งจะเข้าวงการการก่อสร้างบ้านนั้น อาจจะยังไม่มีความรู้ หรือ ไม่เข้าใจความหมายของ “BOQ” ซึ่งวันนี้น้อง Genie จะมาอธิบายความสำคัญ และ ประโยชน์ของใบ “BOQ” กันค่ะ ซึ่งจะมีความสำคัญขนาดไหนนั้น ไปดูกันเลยยยย

“BOQ” คืออะไร!!!

undefined

สำหรับ “BOQ” นะคะจะมีชื่อเต็มว่า Bill of Quantities แปลเป็นภาษาไทยก็คือ “ใบแสดงรายการวัสดุและค่าใช้จ่าย” นั่นเองค่ะ ซึ่งต้องบอกว่า เจ้าใบ BOQ นั้นมีความสำคัญสำหรับการก่อสร้างบ้าน หรือ ต่อเติมบ้านเป็นอย่างมากเลยค่ะ

เนื่องจากว่าใบ BOQ นั้นจะเปรียบเสมือนใบที่แสดงปริมาณงาน และ ราคาวัสดุก่อสร้างที่ถอดแบบออกมาจาก แบบก่อสร้างอย่างละเอียดเลยค่ะ ไม่ว่าจะเป็นในส่วนของงานสถาปัตยกรรม หรือ โครงสร้าง เป็นต้นค่ะ

สำหรับผู้ที่มีหน้าที่ออกใบ BOQ นะคะ จะมีทั้งผู้ออกแบบบ้าน และ ผู้รับเหมาก่อสร้างค่ะ โดยรายละเอียดก็จะมีตามที่น้อง Genie กล่าวด้านบนเลย คือ จะแยกหมวดหมู่งาน เช่น งานเตรียมพื้นที่ งานโครงสร้าง (ฐานราก คาน เสา) งานฝ้าเพดาน งานผนัง งานพื้น งานทาสี งานระบบไฟฟ้า ซึ่งจะแจกแจงเป็นรายการต่างๆ ตามหมวดหมู่นั้นๆ ใช้วัสดุอะไรบ้าง ปริมาณเท่าไรบ้าง ราคาเท่าไหร่ และค่าแรงในการจัดการวัสดุนั้น ๆ มีราคาเท่าไร เป็นต้นค่ะ

ซึ่งน้อง Genie มีตัวอย่างใบ BOQ มาให้เพื่อนๆ ดูเป็นตัวอย่างด้วยค่ะ

undefined

ขอบคุณภาพจาก wee-interior

จากภาพตัวอย่างนะคะ จะเป็นการระบุรายการวัสดุ ราคาต่างๆ รวมไปถึงปริมาณงาน แต่อาจจะยังไม่ได้ระบุรายละเอียดในส่วนของ รุ่น ยี่ห้อของสินค้าค่ะ

เพื่อนๆ อาจจะสงสัยว่า “แล้วราคาล่ะ เอามาจากไหน” สำหรับราคาที่อยู่ในใบ BOQ นั้นจะอิงตามราคามาตรฐาน หรือ ราคาตลาดค่ะ เพื่อให้เป็นตัวชี้วัดในการเปรียบเทียบราคา ยกตัวอย่างเช่น

  • อ่างอาบน้ำ ราคา 11,688 บาท/หน่วย

แต่การก่อสร้างจริงนั้นจะปรับเลือกเป็นอ่างอาบน้ำแบรนด์ไหนก็ได้ที่มีราคาไม่เกิน ตามในใบ BOQ หรือพูดง่ายๆ ก็คือ อ่างอาบน้ำยี่ห้อไหนก็ได้ที่ราคาไม่เกิน 11,688 บาทนั่นเองค่ะ

แต่ในบางครั้งเจ้าของบ้านอาจจะมีความประสงค์อยากซื้อของใช้บางอย่าง ซึ่งอาจจะมีราคาเกินกว่าในใบ BOQ ก็สามารถทำได้ค่ะ แต่เจ้าของจะต้องจ่ายค่าส่วนต่างเองค่ะ ซึ่งจุดนี้ขึ้นอยู่กับการตกลงร่วมกับผู้รับเหมาค่ะ

ความสำคัญของใบ BOQ

undefined

นอกจากใบ BOQ นั้นจะมีความสำคัญต่อการสร้างบ้าน หรือ ต่อเติมบ้านแล้ว ยังมีความสำคัญในด้านอื่นๆ ที่สามารถเป็นประโยชน์กับเจ้าของบ้านได้อีกด้วยค่ะ ซึ่งน้อง Genie ได้สรุปความสำคัญของใบ BOQ มา 3 หัวข้อใหญ่ๆ ดังนี้ค่ะ

1. ใบ BOQ ใช้ในการยื่นขอสินเชื่อกับธนาคารได้

เราทราบกันดีอยู่แล้วนะคะ ว่าในการสร้างบ้าน หรือ ต่อเติมบ้านนั้นต้องใช้งบประมาณค่อนข้างสูง เพื่อนๆ บางคนอาจจะต้องทำเรื่องยื่นขอสินเชื่อกับทางธนาคาร ซึ่งเราสามารถใช้ใบเสนอราคา BOQ จากผู้ออกแบบ หรือ ผู้รับเหมา เพื่อเป็นเอกสารประกอบการพิจารณากับธนาคารได้ค่ะ

โดยทางธนาคารก็จะพิจารณาว่าวงเงินที่ขอกู้นั้นมีความสอดคล้องกับค่าใช้จ่ายตามในใบ BOQ หรือไม่ ซึ่งวิธีนี้ก็จะช่วยในเรื่องผลอนุมัติได้นั่นเองค่ะ

2. ใบ BOQ ใช้ในการเปรียบเทียบราคากลางได้

อย่างที่น้อง Genie ได้กล่าวไปแล้วนะคะ ว่าในใบ BOQ นั้นจะมีราคากลาง ซึ่งจะสามารถเป็นตัวชี้วัด ก่อนที่เราจะตกลงว่าจ้างกับผู้รับเหมาได้ค่ะ

ซึ่งปกติแล้วนั้นหากเรากำลังจะสร้างบ้าน หรือต่อเติมบ้านแน่นอนอยู่แล้วว่าเราจะต้องเลือกผู้รับเหมาที่ดีที่สุดมาสัก 3 - 4 บริษัท เพื่อเปรียบกันอยู่แล้ว ดังนั้นเราจะสามารถดูรายละเอียดในใบ BOQ ที่ได้รับการเสมอมาไปเปรียบเทียบกับราคาของผู้รับเหมารายอื่น ๆ เพื่อหาผู้รับเหมาที่ให้ราคาที่เหมาะสมที่สุดนั่นเองค่ะ

3. ใบ BOQ ใช้ในการตรวจงานและมาตรฐานวัสดุได้

ความสำคัญอย่างสุดท้ายคือ เราสามารถตรวจสอบรายการ ความคืบหน้าของการก่อสร้างผ่านจากใบ BOQ ได้ค่ะ เนื่องจากว่าในใบ BOQ นั้นมีรายการ และ รายละเอียดวัสดุต่างๆ ครบถ้วนอยู่แล้ว ทำให้เราสามารถเช็กความถูกต้องได้เลย

นอกจากนี้ใบ BOQ ยังสามารถใช้เป็นเอกสารอ้างอิง ในการตรวจรับงาน ก่อนที่จะมีการส่งมอบงานที่เสร็จสมบูรณ์ได้อีกด้วยค่ะ

undefined

การแยกประเภทของใบ BOQ

undefined

เราทราบดีกันอยู่แล้วค่ะว่า ในการสร้างบ้าน 1 หลังนั้นมักจะมีรายละเอียดยิบย่อย ไม่ว่าจะเป็นงานโครงสร้าง งานพื้น งานไฟฟ้า บลาบลาๆ ซึ่งหากเรารวบรวมรายละเอียดทุกอย่างลงใน 1 แผ่น อาจจะทำให้ข้อมูลตกหล่น หรือไม่ครบถ้วนได้ ดังนั้นผู้ที่จัดทำใบ BOQ ส่วนใหญ่จะเสนอตามประเภทของงาน ซึ่งจะแบ่งเป็นหมวดหมู่ที่ชัดเจน ดังนี้ค่ะ

1. หมวดหมู่งานโครงสร้าง

  • การลงเสาเข็ม
  • เทพื้น
  • สร้างเสา
  • คาน

2. งานหลังคา

  • การทำโครงสร้างหลังคา
  • มุงหลังคา
  • ติดฉนวนกันความร้อน

3. งานผนัง

  • การก่อผนัง
  • การฉาบผนัง
  • ติดตั้งประตู
  • หน้าต่าง

4. งานฝ้าเพดาน

  • การติดตั้งฝ้าเพดาน

5. งานไฟฟ้า

  • งานเดินระบบไฟฟ้าทั้งหมด รวมไปถึง การติดตั้งหลอดไฟต่าง ๆ

6. งานสุขภัณฑ์

  • งานติดตั้งอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการใช้น้ำ
  • อุปกรณ์ในห้องน้ำ

7. งานระบบน้ำดี – น้ำเสีย

  • งานวางระบบน้ำดี
  • น้ำเสีย
  • น้ำทิ้ง
  • ระบบบำบัดน้ำ

8. งานสี

  • งานทาสีภายนอก – ภายใน ตามที่ตกลงกันไว้ทั้งหมด

9. งานอื่น ๆ

  • งานต่าง ๆ ที่ไม่รวมอยู่ในหมวดหมู่ เช่น งานตกแต่งเพิ่มเติม

10. ค่าแรงคนงาน

  • ราคาของค่าแรงคนงานทั้งหมด โดยจะคิดแยก หรือคิดรวมมาก็ได้

11. ค่าดำเนินการ

  • ส่วนของผู้รับเหมา ที่จะคิดค่าดำเนินการต่าง ๆ ตามที่ตกลงกันไว้

จะเห็นว่าเมื่อแยกประเภทออกเป็นข้อๆ แล้วนั้นจะทำให้การตรวจสอบนั้นง่ายขึ้น และโอกาสที่จะทำให้เกิดข้อผิดพลาดในการสื่อสารระหว่างเจ้าของ และ ผู้รับเหมานั้นมีน้อยมากๆ นั่นเองค่ะ

ขั้นตอนการคำนวณ BOQ สำหรับเจ้าของ

undefined

สำหรับเพื่อนๆ คนไหนที่ต้องการต่อเติม หรือ สร้างบ้านด้วยตัวเอง หรือเป็นการจ้างผู้รับเหมารายเล็กๆ ที่ยังไม่มีใบเสนอ BOQ หรือ ยังไม่รู้ว่า ใบ BOQ คืออะไร ซึ่งเพื่อนๆ สามารถคำนวณใบ BOQ ได้ด้วยตัวเองเลยค่ะ ซึ่งน้อง Genie มีขั้นตอนง่ายๆ มานำเสนอดังนี้ค่ะ

1. จัดหมวดหมู่งาน

อันดับแรกของการเตรียมตัวสร้างบ้านนั้นเราต้องจัดอันดับ หรือจัดหมวดหมู่งานให้เรียบร้อยก่อนค่ะ เพื่อที่เราจะสามารถแยกประเภทของงานออกเป็นกลุ่มๆ ก่อน เพื่อให้ง่ายต่อเช็กวัสดุ และ ราคา ยกตัวอย่างเช่น

  • งานเตรียมพื้นที่
  • งานพื้นผิว
  • งานโครงสร้าง
  • งานหลังคา
  • งานฝ้าเพดาน
  • งานผนัง
  • งานประตูหน้าต่าง
  • งานทาสี
  • งานไฟฟ้า
  • งานประปา
  • งานสุขภัณฑ์
  • งานตกแต่งภายใน
  • งานตกแต่งภายนอก

2. วัดขนาดพื้นที่

สำหรับการวัดขนาดพื้นที่ต่างๆ นะคะ น้อง Genie แนะนำว่าให้ใช้หน่วยเป็น “เมตร” และ “ตารางเมตร” เป็นหลักนะคะ เนื่องจากว่า 2 หน่วยนี้เป้ฯหน่วยมาตรฐานที่ใช้ในงานก่อสร้าง ยกตัวอย่างเช่น ห้องน้ำมีขนาดพื้นที่ 100 ตารางเมตร เพื่อนๆ ก็สามารถระบุลงในใบ BOQ ว่าต้องการใช้กระเบื้องปูพื้นห้องน้ำประมาณ 100 ตารางเมตร เป็นต้นค่ะ

3. สำรวจราคา

สำหรับการสำรวจราคานะคะ น้อง Genie แนะนำให้เพื่อนๆ List รายการวัสดุก่อสร้างที่ต้องการทราบราคา และ เดินเข้าร้านจำหน่ายวัสดุก่อสร้างขนาดใหญ่ เช่น ไทวัสดุ, เมกาโฮม ค่ะ เนื่องจากว่าร้านค้าเหล่านี้จะมีบริการออกใบเสนอราคาตามรายการที่เรา List ไว้ โดยที่เราไม่จำเป็นต้องไปนั่งหาราคาวัสดุทีละอย่าง ช่วยประหยัดเวลาไปได้เยอะค่ะ

4. สรุปราคาที่ต้องจ่าย

มาถึงขั้นตอนที่เราต้องทำการสรุปค่าใช้จ่ายนะคะ ซึ่งข้อนี้เพื่อนๆ สามารถคิดราคาวัสดุได้ง่ายๆ โดยนำ “ปริมาณวัสดุ x ราคาต่อหน่วย = ราคาวัสดุที่ต้องใช้”

อีกหนึ่งราคาที่ถือว่ามีความยากมากๆ ก็คือ ราคาค่าแรงผู้รับเหมานั่นเองค่ะ เนื่องจากว่าผู้รับเหมาแต่ละรายคิดราคาไม่เหมือนกัน และที่สำคัญคือ ราคาผู้รับเหมานั้นยังไม่มีมาตรฐานตายตัวนั่นเองค่ะ แต่ถึงอย่างไรน้อง Genie ก็ได้เตรียมการคาดคะเนราคาคร่าวๆ มาให้เพื่อนๆ ได้สรุปดู ดังนี้ค่ะ

  • งานขนาดเล็กหรืองานง่ายให้ใช้แบบ ราคาไม่เกิน 50 บาทต่อหน่วย
  • งานขนาดปานกลางหรืองานทั่วไปให้ใช้แบบ ราคาไม่เกิน 120 บาทต่อหน่วย
  • งานขนาดใหญ่หรืองานยากให้ใช้แบบ ราคาไม่เกิน 500–1,000 บาทต่อหน่วย

เป็นอย่างไรบ้างคะกับความสำคัญของ ใบ BOQ ซึ่งเพื่อนๆ จะเห็นได้ว่า ใบ BOQ นั้นมีความสำคัญต่อการสร้างบ้าน หรือ ต่อเติมบ้านเป็นอย่างมาก รวมไปถึงการคำนวณราคาวัสดุก่อสร้างเพื่อไม่ให้งบบานปลาย หรือ บานปลายน้อยที่สุด อีกอย่างหากเรามี ใบ BOQ แล้วนั้นเราก็จะสามารถควบคุมได้ทั้งคุณภาพของงาน และราคาได้ด้วยนั่นเองค่ะ

สิ่งที่น้อง Genie อยากจะให้เพื่อนๆ ระวังมากที่สุดก็คือ หากเรากำลังหาผู้รับเหมาเพื่อก่อสร้าง หรือ ต่อเติมบ้านนั้น อย่าลืมที่จะขอ ใบ BOQ ทุกครั้งนะคะ เพราะหากผู้รับเหมาไม่ให้เราดูใบนี้แล้วหล่ะก็ สันนิษฐานไว้ได้เลยค่ะว่างานนี้อาจจะไม่ปลอดภัยทั้งเรื่องงาน และราคาค่ะ

ทั้งนี้น้อง Genie เชื่อว่าทริคการคำนวณใบ BOQ เล็กๆ น้อยๆ นี้จะมีประโยชน์ไม่มากก็น้อย สำหรับผู้ที่กำลังเตรียมวางแผนสร้างบ้าน หรือ ต่อเติมบ้านอยู่ในช่วงนี้นะคะ

และสำหรับใครที่ไม่มีเวลา หรือมองว่าการต่อเติมบ้าน หรือ คอนโด เป็นเรื่องยาก น้อง Genie ขอแนะนำบริการใหม่แกะกล่องจาก เว็บไซต์ www.genie-property.com นั่นก็คือ บริการ “G-Buy” ที่จะช่วยเพื่อนๆ รีโนเวทห้อง พร้อมทำการตลาดในรูปแบบ VR Tour ให้อีกด้วยค่ะ เพื่อนๆ สามารถปรึกษา และ สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ด้านล่างนี้ 👇👇👇👇👇👇

LINE: @genie-property.com

FACEBOOK: Genie-Property.com

EMAIL: sales@genie-property.com

CALL CENTER: 093-232-9888,064-931-8666

WEBSITE : www.genie-property.com

แนะนำบทความที่น่าสนใจ

เนรมิตบ้านเก่า ให้ใหม่ทันใจด้วย สินเชื่อ Renovate บ้าน

ครบ จบเรื่องดูแลบ้าน กับ 12 แอปเรียกช่าง อะไรพังซ่อมได้

ถ้ายังไม่รู้ 7 ข้อนี้!! อย่างเพิ่ง “รีโนเวทคอนโด”

ขอบคุณข้อมูลจาก

ddproperty

kachathailand