รู้ก่อนซื้อ!! Precast VS ก่ออิฐฉาบปูน ข้อดี - ข้อเสียต่างกันไหม!!!

สร้างเมื่อ Nov 18, 2022

สวัสดีค่าาเพื่อนๆ ชาว genius กลับมาเจอกันอีกเช่นเคยค่าาา วันนี้น้อง Genie มีคลังความรู้เรื่อง “บ้าน Precast” มาฝากเพื่อนๆ ด้วยค่ะ ซึ่งเชื่อเลยว่าหลายคนอาจจะยังไม่รู้จักการสร้างบ้านประเภทนี้ และที่ประเทศไทยนั้นก็ยังไม่ค่อยนิยมสร้างบ้านแบบนี้นั่นเองค่ะ ถ้าเพื่อนๆ อยากรู้ว่า “บ้าน Precast” นั้นมีข้อดี - ข้อเสียอย่างไรบ้างนั้น ตามมาเลยค่าาา

1. บ้าน Precast คืออะไร??

undefined

บ้าน Precast หรือ ระบบ Precast Concrete System หรือที่เรารู้จักกันดีในชื่อ ระบบคอนกรีตสำเร็จรูป นั่นเองค่ะ จะเป็นการ สร้างบ้าน หรือ คอนโดด้วยผนังคอนกรีตสำเร็จรูปค่ะ ซึ่งจะเป็นผนังคอนกรีตแบบเสริมเหล็กที่ได้ทำการหล่อขึ้นรูปเป็นผนังแบบต่างๆ ไว้เรียบร้อยแล้วนั่นเองค่ะ

ซึ่งแผ่น ผนังคอนกรีตสำเร็จรูป สามารถยกมาประกอบที่หน้างานได้เลย เนื่องจากว่าได้ทำการผลิต และ ขึ้นรูปมาจากโรงงานอุตสาหกรรมแล้วนั้นเองค่ะ สามารถติดตั้งได้โดยที่ไม่จำเป็นต้องมีเสา โครงสร้างเลยค่ะ เพราะตัวผนัง Precast จะทำหน้าที่เป็นโครงสร้างไปในตัวแล้วนั่นเองค่ะ

ปัจจุบันในการใช้ ผนังคอนกรีตสำเร็จรูป นั้นจะนิยมใช้กับบ้านจัดสรร หรือโครงการที่ต้องสร้างพร้อมกัน แบบเดียวกันหลายๆ หลัง เพื่อจะได้ลดค่าใช้จ่ายในการเปลี่ยนบล็อกไป มา นั่นเองค่ะ

อีกทั้งการสร้างบ้านแบบใช้ ผนังคอนกรีตสำเร็จรูป มีความรวดเร็วในการก่อสร้าง และยังช่วยลดค่าใช้จ่ายในส่วนของงบประมาณค่าแรงได้อีกด้วยค่ะ

1.1. ทำไมผนัง Precast ถึงแข็งแรง

เชื่อว่าหลายคนคงสงสัยว่า แค่นำผนังมาประกอบให้เป็นรูปบ้าน แถมไม่ต้องมี คาน และ เสา โครงสร้าง แต่ทำไมถึงบอกว่าแข็งแรง”

น้อง Genie จะบอกว่าภายในของ ผนัง Precast นั้นมีการเสริมเหล็ก หรือ คอนกรีตเสริมเหล็ก (Reinforced Concrete) ที่ต้องบอกว่าอาจจะมีความแข็งแรง ทนทานกว่าการก่ออิฐฉาบปูนแบบทั่วไปหลายเท่าตัวเลยค่ะ เพราะด้วยหน้าที่ของ ผนัง Precast นั้นต้องทำหน้าที่ “รับน้ำหนัก” เกือบทุกส่วนของตัวบ้าน ดังนั้นด้วยเทคโนโลยีของคอนกรีตเสริมเหล็ก จึงทำให้ ผนัง Precast จะสามารถรองรับน้ำหนักได้ถึง 200 - 400 กิโลกรัม ต่อ ตร.ม. ค่ะ

undefined

ขอบคุณภาพจาก ARANCONCRETE

2. ข้อดี - ข้อเสีย บ้าน Precast

undefined

ข้อดีของระบบ Precast

สำหรับข้อดีของบ้านที่สร้างด้วยระบบ Precast น้อง Genie รวบรวมมาให้ดังนี้ค่ะ

1. มาตรฐาน และ คุณภาพ

จุดเด่นของระบบ Precast นั้นคือคุณภาพ และ มาตรฐานที่สม่ำเสมอค่ะ เนื่องจากว่ากระบวนการ และ ขั้นตอนการผลิตจะถูกดำเนินการด้วยระบบเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ที่ทันสมัย จึงทำให้ชิ้นงานที่ออกมานั้นไม่มีปัญหาหาในเรื่อง ฉาบปูนเรียบ เสาเอียง หรือปัญหาต่างๆ

undefined

ขอบคุณภาพจาก ARANCONCRETE

undefined

ขอบคุณภาพจาก ARANCONCRETE

2. ความแข็งแรง

จุดเด่นอีกอย่างของระบบ Precast นั่นคือความแข็งแรงค่ะ เพราะอย่างที่น้อง Genie กล่าวไปแล้วข้างต้นว่า ผนัง Precast นั้นมีการเสริมเหล็ก หรือ คอนกรีตเสริมเหล็ก (Reinforced Concrete) จึงมีความแข็งแรงสูงมาก ชนิดที่ว่าขนาดแผ่นดินไหว บ้านที่สร้างด้วย ระบบ Precast ยังไม่สะทกสะท้านเลยค่ะ

undefined

ขอบคุณภาพจาก บ้านและสวน

3. หมดห่วงเรื่องรอยร้าว

สำหรับข้อนี้น่าจะถูกใจสายรักบ้านกันที่สุด เนื่องจากว่าในระบบ Precast นั้นจะถูกผลิตออกมาเป็นเซต เป็นแบบแผ่นต่อแผ่น มีการเจาะช่องว่างเพื่อวางประตู หน้าต่าง เดินช่องไฟ เดินท่อน้ำต่างๆ มาให้เสร็จเรียบร้อยแล้วตั้งแต่อยู่ที่โรงงาน ดังนั้นโอกาสที่จะพบรอยร้าวบนผนังนั้นมีน้อยมากๆ เลยหล่ะค่ะ

undefined

4. ป้องกันเสียงได้ดีเยี่ยม

ข้อดีอีกอย่างของระบบ Precast นะคะคงจะหนีไม่พ้นในเรื่องของการเก็บเสียงนั่นเองค่ะ เพราะว่าผนังของระบบ Precast นั้นจะมีความทึบมากกว่าผนังที่ก่อจากอิฐมอญ หรือ อิฐชนิดต่างๆ อย่างที่เราทราบกันดีว่าระบบ Precast นั้นมีกรรมวิธีการผลิตจากคอนกรีต ด้านในมีการเสริมเหล็ก และ โปะด้วยคอนกรีตทับอีกหนึ่งชั้น ซึ่งต่างจากการสร้างบ้านด้วยการก่ออิฐฉาบปูน เพราะในตัวของอิฐนั้นทำมาจากดิน จะมีรูพรุนมากกว่านั่นเองค่ะ

undefined

ข้อเสียของระบบ Precast

มีข้อดีก็ใช่ว่าจะไม่มีข้อเสียนะคะ น้อง Genie รวบรวมมาให้ดังนี้ค่ะ

1. สะสมความร้อน ระบายออกช้า

อย่างที่กล่าวไปแล้วนะคะว่าระบบ Precast นั้นมีการผลิตด้วยคอนกรีตจึงทำให้ผนังนั้นมีความทึบมากกว่า และไม่มีรูพรุนที่จะระบายความร้อนออกมา หรือระบายออกได้ช้ากว่าผนังแบบก่ออิฐฉาบปูนที่มีรูพรุนมากกว่านั่นเองค่ะ

undefined

2. การรั่วซึม

สำหรับการรั่วซึมในระบบของ Precast นะคะส่วนใหญ่ที่พบคือมักจะเกิดตามแนวรอยต่อของผนังมากกว่ารอยแตกร้าวค่ะ สาเหตุที่เกิดขึ้นก็น่าจะมาจากการก่อสร้างค่ะ ผู้รับเหมาอาจจะติดตั้งไม่สนิท หรือ มิดชิดพอ ก็อาจจะเกิดจากจุดนี้ได้ค่ะ

undefined

ขอบคุณภาพจาก Nut Chupan

3. การต่อเติม

อย่างที่กล่าวไปแล้วนะคะว่าผนังระบบ Precast นั้นจะเป็นส่วนที่ทำหน้าที่รับน้ำหนักของตัวบ้าน หรือเรียกง่ายๆ ว่าเป็นโครงสร้างบองบ้านเลยก็ว่าได้ค่ะ ดังนั้นหากเราจะต่อเติม หรือ อยากทุบกำแพงเพื่อรวมห้อง แน่นอนว่าทำไม่ได้เองอยู่แล้ว เพราะถ้าหากทุบส่วนใดส่วนหนึ่งไป ก็เปรียบเสมือนว่าเราทุบบ้านไปทั้งหลังเลยค่ะ

เพราะฉะนั้นหากมีความจำเป็นหรือต้องการต่อเติมจริงๆ น้อง Genie แนะนำว่าให้ปรึกษาวิศวกร โครงสร้างดีกว่าค่ะ เพื่อความปลอดภัยทั้งตัวบ้าน และ ตัวเราด้วยค่ะ.

ในส่วนการเจาะ หรือ ติดตั้งเฟอร์นิเจอร์บางชิ้นอาจจะทำได้นะคะ แต่ควรกะระยะการเจาะให้ห่างจากช่องประตู หรือ ช่องหน้าต่างประมาณ 12 - 15 เซนติเมตร แต่น้อง Genie จะแนะนำให้จ้างช่างเพื่อทำการเจาะยึดจะปลอดภัยมากกว่าค่ะ

undefined

undefined

3. เปรียบเทียบบ้านแบบ Precast VS บ้านแบบก่ออิฐฉาบปูน

undefined

undefined

เป็นอย่างไรกันบ้างคะกับ “บ้านระบบ Precast” ที่นำมาฝากกันในวันนี้ต้องบอกว่า ระบบ Precast ยังถือว่าเป็นระบบใหม่ที่น้อยคนนักจะรู้จัก ยกตัวอย่างคุณพ่อ คุณแม่ของน้อง Genie เลยค่ะ พอเซลล์โครงการมาแนะนำว่า “บ้านหลังนี้สร้างด้วยระบบ Precast นะคะ” ยืนงงกันทั้งคู่เลยค่ะ เห็นท่าไม่ดี จะต้องรีบมาหาข้อมูลเพื่อนำมาฝากเพื่อน แฟนเพจที่น่ารักของน้อง Genie สะหน่อยแล้ว ><

ยังไงก็หวังว่าข้อมูลข้างต้นที่นำมาเปรียบเทียบจะทำให้เพื่อนๆ นั้นสามารถเลือกแบบบ้านที่ตรงใจ และได้ความรู้ว่าข้อดี - ข้อเสียของแต่ละแบบบ้านไม่มากก็น้อยนะคะ

สุดท้ายนี้น้อง Genie อยากจะแนะนำเว็บไซต์ในการหาที่อยู่อาศัย รวบรวมห้องทุกโซน ทุกทำเล ไม่ว่าจะเป็นมือหนึ่ง หรือ มือสอง ก็มีให้เลือกแบบครบครัน อีกทั้งยังสามารถดูห้องได้ทุกที่ทุกเวลาผ่าน VR Tour ได้ที่เว็บไซต์ www.genie-property.com ได้เลยค่ะ รับรองว่า สะดวก ปลอดภัย แถมได้ห้องไวแน่นอนค่ะ

และเพื่อเป็นกำลังใจให้น้อง Genie เพื่อนๆ สามารถเข้ามาพูดคุย หรือกดติดตามข่าวสารดีๆเกี่ยวกับแวดวงอสังหาฯ และ ไลฟ์สไตล์กันได้ผ่านทางช่องทางด้านล่างนี้เลยค่าาา

LINE: @genie-property.com

FACEBOOK: Genie-Property.com

EMAIL: sales@genie-property.com

CALL CENTER: 093-232-9888,064-931-8666

WEBSITE : www.genie-property.com

แนะนำบทความที่น่าสนใจ

เปรียบเทียบชัดๆ "อิฐ" ประเภทไหนตอบโจทย์คนสร้างบ้าน

ก่อนซื้อคอนโดต้องรู้!! “4 ประเภทห้องคอนโด” ต่างกันอย่างไร

ก่อนซื้อบ้านมือสองต้องรู้!! กับ ขั้นตอนในการยื่นกู้ซื้อบ้าน

ขอบคุณข้อมูลจาก

Home Check Up

ITDang2009