ทำสัญญาขายฝากที่ดินอย่างไร? ไม่ให้โดนโกงง

สร้างเมื่อ Aug 5, 2022

สวีดัด สวัสดีค่าา เพื่อนๆ ชาว Genius ทุกคนวันนี้น้อง Genie จะพาเพื่อนๆ มาทำความรู้จักกับ “การขายฝากที่ดิน” กันค่ะ ซึ่งเหมาะกับคนที่ต้องการใช้เงินด่วน และ มีที่ดินเป็นของตัวเอง แต่ไม่อยากขายขาด ซึ่่ง “การขายฝากที่ดิน” นั้นที่เป็นทางเลือกที่ดีค่ะ เนื่องจากว่าทำง่าย สะดวก ไม่เช็คเครดิตบูโร แถมเรายังสามารถทำประโยชน์ในที่ดินต่อได้เลย อ่ะอ่ะ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก่อนที่เพื่อนๆ จะทำการเซ็นสัญญาก็จำเป็นที่จะต้องศึกษาข้อมูลอย่างละเอียดนะคะ ซึ่งจะมีอะไรที่ต้องเช็คบ้างตามมาเลยค่าาา

undefined

1. สัญญาขายฝากที่ดิน คืออะไร

สัญญาขายฝากที่ดิน คือ การทำนิติกรรมซื้อขายที่ดินประเภทหนึ่ง โดยกรรมสิทธิ์จะตกเป็นของผู้รับซื้อฝากทันที ไม่ว่าจะเป็นการขายฝากที่ดินประเภทเกษตรกรรม หรือ ประเภทที่อยู่อาศัย ซึ่งจะเหมือนกับสัญญาซื้อขายทั่วไปเลยค่ะ เพียงแต่สัญญาขายฝากที่ดินนี้ ผู้ขายฝากสามารถนำเงินไปไถ่ถอนที่ดินคืนได้ตามข้อตกลงในสัญญานั่นเองค่ะ

ซึ่งข้อดีของการขายฝากที่ดินนั้นก็คือได้วงเงินที่ค่อนข้างสูง ประมาณ 40% – 70% จากราคาประเมิน และที่สำคัญการขายฝากนั้นจะอยู่ภายใต้ข้อบังคับของกฎหมาย พระราชบัญญัติ คุ้มครองประชาชนในการทำสัญญาขายฝากที่ดิน เพื่อเกษตรกรรมหรือที่อยู่อาศัย พ.ศ. 2562 ซึ่งได้มีการประกาศบังคับใช้เมื่อเดือนเมษายน ปี 2562 เพื่อคุ้มครองผู้ขายฝากที่เป็นบุคคลธรรมดาให้ได้รับความเป็นธรรมจากการทำสัญญาขายฝากนั่นเองค่ะ

ในส่วนของผู้ซื้อฝากนั้นจะได้รับผลประโยชน์ในรูปแบบของ “ดอกเบี้ย” ค่ะ โดยกำหนดไว้ไม่เกิน 15% ต่อปี และจะได้รับทั้งเงินต้น และ ดอกเบี้ยคืนทันทีที่ ผู้ขายฝากนำเงินมาไถ่ถอนที่ดินคืน

undefined

2. ข้อกำหนด และ เงื่อนไขการขายฝาก

ในการทำสัญญาขายฝากนั้น สิ่งแรกที่เราต้องศึกษาเลยก็คือ “ข้อกำหนด” และ “เงื่อนไข” เกี่ยวกับการขายฝากนั่นเองค่ะ ซึ่งตาม พระราชบัญญัติ คุ้มครองประชาชนในการทำสัญญาขายฝากที่ดิน เพื่อเกษตรกรรมหรือที่อยู่อาศัย พ.ศ. 2562 จะมีเงื่อนไขที่สำคัญดังนี้

  • การขายฝาก ต้องจัดทำเป็นหนังสือ และ มีการจดทะเบียนต่อหน้าเจ้าพนักงานที่กรมที่ดินเท่านั้น มิเช่นนั้นจะถือว่าสัญญาขายฝากที่ดินฉบับนั้นเป็นโมฆะ
  • จำนวนสินไถ่ สามารถกำหนดไว้สูงกว่าราคาขายฝากก็ได้ แต่เมื่อคำนวณเป็นดอกเบี้ยแล้วจะต้องไม่เกินร้อยละ 15% ต่อปี และต้องคำนวณตั้งแต่วันที่ขายฝากจนถึงวันที่ครบกำหนดเวลาไถ่
  • กำหนดเวลาไถ่ ห้ามต่ำกว่า 1 ปี หรือ เกิน 10 ปี สัญญาขายฝากจะกำหนดเวลาไถ่ต่ำกว่า 1 ปีหรือเกิน 10 ปีไม่ได้ เพื่อป้องกันผู้ซื้อฝากกำหนดเวลาไถ่คืนทรัพย์สินที่ขายฝากเป็นระยะเวลาสั้นจนทำให้ผู้ขายฝากไม่สามารถไถ่ทรัพย์สินที่ขายฝากได้ทันกำหนดเวลาไถ่ และเพื่อป้องกันผู้ซื้อฝากกำหนดเวลาไถ่คืนทรัพย์สินที่ขายฝากเป็นระยะเวลาที่ยาวนานเกิน 10 ปี
  • สิทธิการใช้ทรัพย์สินที่ขายฝาก ผู้ขายฝากมีสิทธิและสามารถใช้ประโยชน์ได้ทั้งอยู่อาศัยหรือประกอบเกษตรกรรมในระหว่างขายฝาก ไปจนถึงวันที่หมดสิทธิในการไถ่ ตามที่ตกลงกันในสัญญาขายฝาก

2.1. รายการที่ต้องอยู่ในสัญญาขายฝาก

ในการทำสัญญาขายฝากที่ดินอย่างที่น้อง Genie ได้กล่าวไปแล้วข้างต้นนะคะ ว่าจะต้องทำเป็นหนังสือ และ มีการจดทะเบียนต่อหน้าพนักงานเจ้าหน้าที่ ณ สำนักงานที่ดิน โดยพนักงานเจ้าหน้าที่จะระบุไว้ในสารบัญสำหรับจดทะเบียนให้ชัดเจนว่าเป็นการ “ขายฝากที่ดินเพื่อเกษตรกรรม” หรือ “การขายฝากที่อยู่อาศัย” ซึ่งจะต้องมีรายการที่สำคัญดังนี้

  • สัญญาขายฝากที่ดิน จะต้องระบุชื่อและที่อยู่คู่สัญญา
  • สัญญาขายฝากที่ดิน มีการแจกแจงรายการและลักษณะแห่งทรัพย์สิน ที่ดินที่จะขายฝาก
  • สัญญาขายฝากที่ดิน จำเป็นต้องมีการแจกแจงราคาที่ขายฝาก
  • สัญญาขายฝากที่ดิน จำเป็นต้องมีจำนวนสินไถ่
  • สัญญาขายฝากที่ดิน ต้องระบุวันที่ขายฝากและวันที่ครบกำหนดไถ่

2.2. ข้อควรรู้ ก่อนเซ็นสัญญาขายฝากที่ดิน

  • การทำสัญญาขายฝากที่ดินนั้นต้องงทำต่อหน้าเจ้าพนักงานที่ดิน ณ กรมที่ดินเท่านั้น
  • ในวันที่ทำสัญญา “ผู้ขายฝาก” จะโอนกรรมสิทธิ์ให้ “ผู้ซื้อฝาก” ทันที
  • ผู้ขายฝากจะสามารถไถ่ถอนที่ดินคืนจากผู้ซื้อฝากได้ตามระยะเวลาที่ตกลงกันไว้ในสัญญา ซึ่งจะต้องไม่เกิน 10 ปีสำหรับอสังหาริมทรัพย์ และไม่เกิน 3 ปีสำหรับสังหาริมทรัพย์
  • ผู้ซื้อฝากจะได้ดอกเบี้ย หรือ ค่าตอบแทนสูงสุดไม่เกินร้อยละ 15% ต่อปี
  • หากครบกำหนดสัญญาฝากขายที่ดินแล้ว ผู้ขายฝากยังไม่สามารถไถ่ถอนที่ดินได้ สามารถขอเจรจาเพื่อต่อสัญญาได้จนกว่าจะครบตามที่กฎหมายกำหนด
undefined

3. กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับ “สัญญาขายฝากที่ดิน”

3.1. ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ที่เกี่ยวข้อง

  • มาตรา 491 อันว่าขายฝากนั้นคือสัญญาซื้อขายซึ่งกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินตกไปยังผู้ซื้อโดยมีข้อตกลงกันว่าผู้ขายอาจไถ่ทรัพย์นั้นคืนได้
  • มาตรา 492 ในกรณีที่มีการไถ่ทรัพย์สินซึ่งขายฝากภายในเวลาที่กำหนดไว้ในสัญญาหรือภายในเวลาที่กฎหมายกำหนด หรือผู้ไถ่ได้วางทรัพย์อันเป็นสินไถ่ต่อสำนักงานวางทรัพย์ภายในกำหนดเวลาไถ่โดยสละสิทธิถอนทรัพย์ที่ได้วางไว้ ให้ทรัพย์สินซึ่งขายฝากตกเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ไถ่ตั้งแต่เวลาที่ผู้ไถ่ได้ชำระสินไถ่หรือวางทรัพย์อันเป็นสินไถ่ แล้วแต่กรณี

ในกรณีที่ได้วางทรัพย์ตามวรรคหนึ่ง ให้เจ้าพนักงานของสำนักงานวางทรัพย์แจ้งให้ผู้รับไถ่ทราบถึงการวางทรัพย์โดยพลัน โดยผู้ไถ่ไม่ต้องปฏิบัติ ตามมาตรา 333 วรรคสาม

  • มาตรา 494 ท่านห้ามมิให้ใช้สิทธิไถ่ทรัพย์สินซึ่งขายฝากเมื่อพ้นเวลาดังจะกล่าวต่อไปนี้
  • ถ้าเป็นอสังหาริมทรัพย์ กำหนด 10 ปีนับแต่เวลาซื้อขาย
  • ถ้าเป็นสังหาริมทรัพย์ กำหนด 3 ปีนับแต่เวลาซื้อขาย
  • มาตรา 496 กำหนดเวลาไถ่นั้น อาจทำสัญญาขยายกำหนดเวลาไถ่ได้ แต่กำหนดเวลาไถ่รวมกันทั้งหมด ถ้าเกินกำหนดเวลา ตามมาตรา 494 ให้ลดลงมาเป็นกำหนดเวลา ตามมาตรา 494

การขยายกำหนดเวลาไถ่ตามวรรคหนึ่งอย่างน้อยต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้รับไถ่ ถ้าเป็นทรัพย์สินซึ่งการซื้อขายกันจะต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ห้ามมิให้ยกการขยายเวลาขึ้นเป็นข้อต่อสู้บุคคลภายนอกผู้ได้สิทธิมาโดยเสียค่าตอบแทนและโดยสุจริต และได้จดทะเบียนสิทธิโดยสุจริตแล้ว เว้นแต่จะได้นำหนังสือหรือหลักฐานเป็นหนังสือดังกล่าวไปจดทะเบียนหรือจดแจ้งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่

  • มาตรา 497 สิทธิในการไถ่ทรัพย์สินนั้นจะพึงใช้ได้แต่บุคคลเหล่านี้คือ
  • ผู้ขายเดิมหรือทายาทของผู้ขายเดิม หรือ
  • ผู้รับโอนสิทธินั้น หรือ
  • บุคคลซึ่งในสัญญายอมไว้โดยเฉพาะว่าให้เป็นผู้ไถ่ได้
  • มาตรา 499 สินไถ่นั้น ถ้าไม่ได้กำหนดกันไว้ว่าเท่าใดไซร้ ท่านให้ไถ่ตามราคาที่ขายฝาก

ถ้าปรากฏว่าสินไถ่หรือราคาขายฝากที่กำหนดไว้สูงกว่าราคาขายฝากที่แท้จริงเกินอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ให้ไถ่ได้ตามราคาขายฝากที่แท้จริงรวมประโยชน์ตอบแทนร้อยละ 15 ต่อปี

3.2. พระราชบัญญัติคุ้มครองประชาชนในการทำสัญญาขายฝากที่ดินเพื่อเกษตรกรรมหรือที่อยู่อาศัย พ.ศ.2562

  • มาตรา 10 สัญญาขายฝากจะกำหนดเวลาไถ่ต่ำกว่าหนึ่งปีหรือเกินสิบปีมิได้ ในกรณีที่กำหนดเวลาไถ่ต่ากว่าหนึ่งปีหรือเกินสิบปี ให้ถือว่ากำหนดเวลาไถ่มีเวลาหนึ่งปี หรือสิบปี แล้วแต่กรณีแต่ผู้ขายฝากมีสิทธิไถ่ทรัพย์สินที่ขายฝากก่อนครบกำหนดเวลาไถ่
  • ในกรณีที่ผู้ขายฝากไถ่ทรัพย์สินที่ขายฝากก่อนครบกำหนดเวลาไถ่ และจำนวนสินไถ่กำหนดไว้สูงกว่าราคาที่ขายฝาก ให้ลดสินไถ่ในส่วนที่สูงกว่านั้นลงตามอัตราส่วนของระยะเวลาไถ่ที่ลดลง แต่ผู้ซื้อฝากมีสิทธิเรียกค่าเสียโอกาสได้ไม่เกินร้อยละสองต่อปีของจำนวนราคาที่ขายฝากคำนวณตามระยะเวลาที่เหลืออยู่ก่อนถึงกำหนดเวลาไถ่ แต่ในกรณีที่มีการวางทรัพย์ ผู้วางทรัพย์ต้องวางทรัพย์ตามจำนวนสินไถ่ที่กำหนดไว้ในสัญญา โดยไม่ตัดสิทธิคู่กรณีที่จะเรียกร้องส่วนลดหรือค่าเสียโอกาสคืนในภายหลัง
  • ในกรณีที่มีการขยายกำหนดเวลาไถ่ ระยะเวลาที่ขยายเมื่อรวมกับระยะเวลาเดิมแล้วต้องไม่เกิน 10 ปี
  • มาตรา 11 ให้คดีที่มีข้อพิพาทอันเนื่องมาจากการขายฝากเป็นคดีผู้บริโภคตามกฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค โดยให้ถือว่าผู้ขายฝากเป็นผู้บริโภค
  • มาตรา 12 ภายใต้บังคับมาตรา 13 ผู้ขายฝากมีสิทธิครอบครอง ใช้สอย และถือเอาซึ่งประโยชน์จากทรัพย์สินที่ขายฝาก เพื่อประโยชน์ในการประกอบเกษตรกรรมหรือใช้เป็นที่อยู่อาศัยจนถึงวันที่หมดสิทธิในการไถ่ ทั้งนี้ โดยไม่ต้องชำระค่าตอบแทนให้แก่ผู้ซื้อฝาก ในการนี้ให้ดอกผลที่งอกจากทรัพย์สินที่ขายฝากในระหว่างการขายฝากตกเป็นของผู้ขายฝาก
  • ผู้ขายฝากต้องรักษาและสงวนทรัพย์สินที่ขายฝากอย่างวิญญูชนพึงรักษาหรือสงวนทรัพย์สินของตนเอง
  • มาตรา 13 ในกรณีที่ในวันที่ขายฝากผู้ขายฝากได้ให้บุคคลอื่นใช้ประโยชน์ในทรัพย์สินที่ขายฝากเพื่อประกอบเกษตรกรรมหรือใช้เป็นที่อยู่อาศัยอยู่แล้ว การขายฝากย่อมไม่กระทบต่อสิทธิของผู้ใช้ประโยชน์ในทรัพย์สินดังกล่าว และให้ค่าตอบแทนที่ได้รับเป็นของผู้ขายฝาก
  • ในระหว่างการขายฝาก คู่สัญญาอาจตกลงกันเป็นหนังสือให้ผู้ขายฝากมีสิทธินำทรัพย์สินที่ขายฝากให้บุคคลอื่นใช้ประโยชน์เพื่อประกอบเกษตรกรรมหรือใช้เป็นที่อยู่อาศัย โดยจะกำหนดให้ค่าตอบแทนตกเป็นของผู้ขายฝากหรือผู้ซื้อฝากก็ได้ ถ้าไม่ได้มีการตกลงกันดังกล่าว ผู้ขายฝากมีสิทธิให้บุคคลอื่นใช้ประโยชน์ในทรัพย์สินเพื่อประกอบเกษตรกรรมหรือใช้เป็นที่อยู่อาศัยได้และให้ค่าตอบแทนที่ได้รับเป็นของผู้ซื้อฝาก แต่ไม่ว่ากรณีจะเป็นประการใด สิทธิของบุคคลอื่นดังกล่าวให้สิ้นสุดลงเมื่อพ้นกำหนดเวลาไถ่และไม่มีการไถ่ทรัพย์สินที่ขายฝาก ทั้งนี้ ให้นำความในมาตรา 12 วรรคสอง มาใช้บังคับกับผู้ขายฝากและผู้ใช้ประโยชน์ในทรัพย์สินดังกล่าวด้วยโดยอนุโลม
  • มาตรา 14 สิทธิในการไถ่ทรัพย์สินอาจโอนกันโดยทางนิติกรรมหรือตกทอดแก่ทายาทได้ผู้รับโอนย่อมรับโอนไปทั้งสิทธิและหน้าที่ทั้งปวง
  • มาตรา 15 สิทธิในการไถ่ทรัพย์สินจะพึงใช้ได้ต่อผู้ซื้อฝากเดิม ทายาทของผู้ซื้อฝากเดิมหรือผู้รับโอนทรัพย์สินที่ขายฝาก แล้วแต่กรณี
  • มาตรา 16 ก่อนพ้นกำหนดเวลาไถ่ ผู้ซื้อฝากต้องไม่ก่อภาระใด ๆ เหนือทรัพย์สินที่ขายฝากอันอาจกระทบสิทธิของผู้ขายฝากตามพระราชบัญญัตินี้
  • มาตรา 17 ก่อนวันครบกำหนดเวลาไถ่ไม่น้อยกว่า 3 เดือนแต่ไม่มากกว่า 6 เดือน ให้ผู้ซื้อฝากแจ้งเป็นหนังสือส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับไปยังผู้ขายฝากเพื่อให้ผู้ขายฝากทราบกำหนดเวลาไถ่และจำนวนสินไถ่ พร้อมทั้งแนบสำเนาสัญญาขายฝากไปด้วย ในกรณีที่ผู้แจ้งมิใช่ผู้ซื้อฝากเดิม ต้องแจ้งไปด้วยว่าผู้ขายฝากจะต้องไถ่กับผู้ใดและสถานที่ที่จะต้องชำระสินไถ่
  • ในกรณีที่ผู้ซื้อฝากไม่ได้ดำเนินการแจ้งเป็นหนังสือไปยังผู้ขายฝากภายในระยะเวลาที่กำหนดตามวรรคหนึ่งหรือมิได้ส่งสำเนาสัญญาขายฝากไปด้วย ให้ผู้ขายฝากมีสิทธิไถ่ทรัพย์สินที่ขายฝากได้ภายในหกเดือนนับแต่วันครบกำหนดไถ่ที่ระบุไว้ในสัญญาขายฝาก โดยผู้ขายฝากมีหน้าที่ชำระสินไถ่ตามจานวนที่กำหนดไว้ในสัญญา
  • มาตรา 18 ผู้ขายฝากมีสิทธิไถ่ทรัพย์สินที่ขายฝากภายในเวลาที่กำหนดไว้ในสัญญาหรือภายในเวลาที่กำหนดในพระราชบัญญัตินี้ โดยอาจชำระสินไถ่ให้แก่ผู้ซื้อฝาก หรือวางทรัพย์อันเป็นสินไถ่ต่อสำนักงานวางทรัพย์หรือสำนักงานที่ดินจังหวัดหรือสำนักงานที่ดินที่รับจดทะเบียนการขายฝากทรัพย์สินนั้น โดยสละสิทธิถอนทรัพย์ที่ได้วางไว้
  • ในกรณีที่ผู้ขายฝากไม่อาจใช้สิทธิไถ่กับผู้ซื้อฝากได้ไม่ว่าด้วยเหตุใดอันมิใช่เป็นความผิดของผู้ขายฝาก ให้ผู้ขายฝากมีสิทธิวางทรัพย์อันเป็นสินไถ่ต่อสำนักงานวางทรัพย์หรือสำนักงานที่ดินจังหวัดหรือสำนักงานที่ดินที่รับจดทะเบียนการขายฝากทรัพย์สินนั้นได้ภายในสามสิบวันนับแต่วันถึงกำหนดเวลาไถ่หรือนับแต่วันที่เหตุที่ทำให้ไม่อาจใช้สิทธิไถ่ดังกล่าวได้สิ้นสุดลง แล้วแต่กรณี และให้ถือว่าผู้ขายฝากได้ไถ่ทรัพย์สินที่ขายฝากตามกาหนดเวลาไถ่แล้ว
  • ให้ทรัพย์สินที่ขายฝากตกเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ขายฝากตั้งแต่เวลาที่ผู้ขายฝากได้ชาระสินไถ่หรือวางทรัพย์อันเป็นสินไถ่ แล้วแต่กรณี
  • ในกรณีที่ได้วางทรัพย์ตามวรรคหนึ่งหรือวรรคสอง ให้เจ้าพนักงานของสำนักงานวางทรัพย์หรือสำนักงานที่ดิน แล้วแต่กรณี มีหน้าที่แจ้งเป็นหนังสือส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับให้ผู้ซื้อฝากทราบถึงการวางทรัพย์โดยพลัน โดยผู้ขายฝากไม่ต้องปฏิบัติตามมาตรา 333 วรรคสาม แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

ขอบคุณข้อมูลจาก สำนักงานกฎหมายธนู

undefined

4. ไถ่ถอนที่ดินจากการขายฝาก ต้องทำอย่างไร

สำหรับขั้นตอนในการไถ่ถอนที่ดินจากการขายฝากนั้นมีข้อกำหนด และ ค่าธรรมเนียมดังนี้ค่ะ

  • ขั้นตอนในการไถ่ถอนที่ดิน
  • เมื่อใกล้ครบกำหนดเวลาไถ่ถอนที่ดิน ผู้ซื้อฝากจะต้องไม่ก่อภาระใดๆ บนที่ดินขายฝาก
  • ผู้ซื้อฝากจำเป็นจะต้องส่งหนังสือแจ้งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับไปยังผู้ขายฝาก เพื่อให้ผู้ขายฝากทราบกำหนดเวลาไถ่ถอน และ จำนวนสินไถ่ พร้อมทั้งแนบสำเนาสัญญาขายฝากไปด้วย โดยต้องแจ้งล่วงหน้าก่อนถึงวันครบกำหนดไม่น้อยกว่า 3 เดือน แต่ต้องไม่เกิน 6 เดือน
  • และในกรณีที่ “ผู้ซื้อฝาก” ไม่ได้ดำเนินการแจ้งเป็นหนังสือไปยัง “ผู้ขายฝาก” ภายในระยะเวลาที่กำหนด หรือ ไม่ได้ส่งสำเนาสัญญาขายฝากไปด้วย ให้ “ผู้ขายฝาก” มีสิทธิไถ่ทรัพย์สินที่ขายฝากได้ภายในระยะ 6 เดือนนับตั้งแต่วันที่ครบกำหนดไถ่ถอนที่ดิน ตามที่ระบุไว้ในสัญญาขายฝาก โดย “ผู้ขายฝาก” มีหน้าที่ชำระสินไถ่ตามจำนวนที่กำหนดไว้ในสัญญา
  • เอกสารที่ใช้ในวันไถ่ถอนที่ดิน
  • โฉนดที่ดินฉบับจริง
  • บัตรประชาชน
  • ทะเบียนบ้าน
  • ใบทะเบียนสมรส (ถ้ามี)
  • ใบเปลี่ยนชื่อ-นามสกุล (ถ้ามี)
  • ค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนไถ่ถอนที่ดิน
  • เรียกเก็บประเภทไม่มีทุนทรัพย์ แปลงละ 50 บาท
  • อากรแสตมป์ใบรับ เรียกเก็บร้อยละ 50 สตางค์ คํานวณจากราคาทุนทรัพย์ในการจดทะเบียน

สิทธิและนิติกรรม (ราคาขายฝากรวมผลประโยชน์ตอบแทน (ถ้ามี)) หรือราคาประเมินทุนทรัพย์ที่ใช้อยู่ในวันที่มีการจดทะเบียนไถ่ถอนจากขายฝาก แล้วแต่อยางใดจะมากกว่า

เป็นอย่างไรกันบ้างคะกับ “สัญญาขายฝากที่ดิน” ที่นำมาฝากกันในวันนี้ ส่วนตัวน้อง Genie มองว่าในการทำสัญญา ไม่ว่าจะเป็นสัญญาประเภทไหน ก่อนที่เราจะตกลงยอมรับ หรือ เซ็นต์สัญญา เราจะต้องมีความรู้ และ ต้องศึกษาข้อมูลอย่างละเอียดอยู่แล้วค่ะ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นเพื่อความชัวร์ และ ความแม่นยำ เราควรที่จะตรวจสอบรายละเอียดข้อตกลง ก่อนที่จะเซ็นสัญญา

ยิ่งเป็นเรื่องของกรรมสิทธิ์ที่ดินนั้นยิ่งต้องมีการตรวจสอบรายละเอียดให้แม่นยำก่อนที่จะตกลงเซ็นต์เลยค่ะ และน้อง Genie ก็หวังว่าบทความนี้จะช่วยเป็นการบอกแนวความรู้เพื่อให้เพื่อนๆ ได้ศึกษาได้ตรงประเด็นมากขึ้นนะคะ

และถ้าหากเพื่อนๆ กำลังมองหาโครงการไม่ว่าจะเป็น บ้าน หรือคอนโดแต่ไม่อยากเสียเวลา ในการออกไปดูหลายๆ ที่แนะนำที่เว็บไซต์นี้เลยค่ะ www.genie-property.com แพลตฟอร์มค้นหาอสังหาริมทรัพย์รูปแบบ VR Tour ตัวช่วยง่ายๆ ที่จะทำให้เพื่อนๆ ประหยัดเวลาไปเยอะเลยทีเดียว ไม่เชื่อลอง “คลิก” ดูเลยค่ะ ><

เพื่อเป็นกำลังใจให้น้อง Genie เพื่อนๆ สามารถเข้ามาพูดคุย หรือกดติดตามข่าวสารดีๆเกี่ยวกับแวดวงอสังหาฯ และ ไลฟ์สไตล์กันได้ผ่านทางช่องทางด้านล่างนี้เลยค่าาา

LINE: @genie-property.com

FACEBOOK: Genie-Property.com

EMAIL: sales@genie-property.com

CALL CENTER: 093-232-9888,064-931-8666

Website : www.genie-property.com

แนะนำบทความที่น่าสนใจ

  1. โฉนดหาย!! ไม่ต้องตกใจ แก้ปัญหาง่ายๆ ขั้นตอนไม่ยุ่งยาก
  2. สรุปขั้นตอนที่เจ้าของที่ดินต้องรู้!! เมื่อถูกเวนคืนที่ดิน
  3. ก่อนซื้อ-ขายที่ดินต้องรู้!! โฉนดที่ดินมีกี่ประเภท?

ขอบคุณข้อมูลจาก

dol.go.th

dol.go.th

Sansiri