เปลี่ยนต้นไม้เป็นหลักประกันเงินกู้ได้ง่ายๆ กับไม้มีค่า 58 ชนิด
สร้างเมื่อ Aug 26, 2022
เพื่อนๆ รู้ไหมคะว่าต้นไม้บางชนิดที่เราปลูกนั้น สามารถนำมาเป็นหลักทรัพย์ในการขอสินเชื่อ หรือ ใช้เป็นหลักประกันกู้ยืมเงินได้ด้วยน้าาา ซึ่งวันนี้น้อง Genie ก็ไม่พลาดที่จะนำต้นไม้มีค่าทั้ง 58 ชนิดมาฝากเพื่อนๆ ค่ะ จะมีต้นไหนบ้างนั้นไปดูกันเลยค่ะ
1. ทำความรู้จักต้นไม้มีค่า 58 ชนิด
สำหรับไม้ยืนต้นที่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจจะมีทั้งหมด 58 ชนิดนั้นนะคะ ซึ่งเมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561 ได้มีประกาศราชกิจจานุเบกษาให้ “ไม้ยืนต้น” เป็น “ทรัพย์สินที่สามารถใช้เป็นหลักประกันทางธุรกิจ” ได้ค่ะ
และหลังจากที่กระทรวงพาณิชย์ได้ออกกฎกระทรวงทำให้สถาบันการเงิน และ ผู้ที่รับหลักประกันนั้นสามารถเพิ่มประเภทของหลักทรัพย์ในการให้สินเชื่อมากขึ้นนั่นเองค่ะ ซึ่งข้อนี้มีผลดีต่อทั้งสถาบันการเงิน ภาคธุรกิจ เกษตรกร และประชาชนท่านอื่นที่ต้องการใช้ต้นไม้ยืนต้นเพื่อสินเชื่อ และยังมีกฎหมายรองรับแบบชัดเจนอีกด้วยค่ะ ซึ่งต้นไม้ตามบัญชีท้ายกฎหมายว่าด้วยสวนป่า จะสามารถแบ่งออกเป็น 4 กลุ่มได้แก่
- กลุ่มที่ 1 ต้นไม้ที่มีอัตราการเติบโตเร็ว รอบตัดฟันสั้น มูลค่าของเนื้อไม้ต่ำ กลุ่มนี้จะมีมูลค่าต่ำ เช่น ยูคาลิปตัส สัตตบรรณ กระถินเทพา กระถินณรงค์ ฯลฯ
- กลุ่มที่ 2 ต้นไม้ที่มีอัตราการเติบโตปานกลาง รอบตัดฟันยาว มูลค่าของเนื้อไม้ค่อนข้างสูง เช่น ประดู่ ยางนา กระบาก สะตอ ฯลฯ
- กลุ่มที่ 3 ต้นไม้ที่มีอัตราการเติบโตปานกลาง รอบตัดฟันยาว มูลค่าของเนื้อไม้สูง ได้แก่ สัก ฯลฯ
- กลุ่มที่ 4 ต้นไม้ที่มีอัตราการเติบโตช้า รอบตัดฟันยาว มูลค่าของเนื้อไม้สูงมาก เช่น พะยูง ชิงชัน จันทน์หอม มะค่าโมง ฯลฯ เป็นต้น
โดยรายชื่อต้นไม้ที่สามารถนำมาใช้เป็นหลักประกันธุรกิจได้มีทั้งหมด 58 ชนิดดังนี้ค่ะ
จากการตรวจสอบสถิติผู้ที่จดทะเบียนเพื่อนำต้นไม้มาเป็นหลักประกันเมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2565 มีจำนวนทั้งสิ้น 1.46 แสนต้น ซึ่งเป็นจำนวนเงินค้ำประกันกว่า 137 ล้านบาท โดยมีการจดทะเบียนการนำต้นไม้มาเป็นหลักประกันกับสถาบันการเงินต่าง ๆ ดังนี้ค่ะ
- ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) จำนวนต้นไม้ 318 ต้น จำนวนเงินค้ำประกัน 3 ล้านกว่าบาท
- ธนาคารกรุงไทย จำนวน 23,000 ต้น จำนวนเงินค้ำประกัน 128 ล้านบาท
- พิโกไฟแนนซ์ จำนวนต้นไม้ 1.2 แสนต้น จำนวนเงินค้ำประกัน 6 ล้านบาท
2. เงื่อนไขในการใช้ต้นไม้มีค่าเป็นหลักประกัน
สำหรับเงื่อนไขในการใช้ต้นไม้มีค่าเป็นหลักประกันนั้น จะต้องตรงตามเกณฑ์ที่กฎกระทรวงรองรับ โดยจะมีรายละเอียดดังนี้ค่ะ
- จะต้องเป็นต้นไม้อายุ 1 ปีขึ้นไป
- มีลำต้นเป็นแนวตรง 2 เมตรขึ้นไป
- ต้องเป็นต้นไม้ที่ปลูกในที่ดินของตนเอง
- การวัดมูลค่าจะต้องมีกรรมการและสมาชิกธนาคาร อย่างน้อย 3 คนร่วมประเมินมูลค่า
- ต้นไม้เป็นรายต้นที่ความสูง 1.30 เมตร
- ต้นไม้จะต้องมีเส้นรอบวงของต้น ไม่ต่ำกว่า 3 เซนติเมตร และเปรียบเทียบเส้นรอบวงที่วัดได้ กับตารางปริมาณ และราคาเนื้อไม้ ที่แบ่งเป็น 4 กลุ่ม เพื่อหามูลค่าต้นไม้ และจะปล่อยกู้ให้ 50% ของราคาประเมินต้นไม้ชนิดนั้น ๆ
ตัวอย่าง ที่ดินที่นำมาจดจำนองขอสินเชื่อ
- หากที่ดินที่นำมาจดจำนองขอสินเชื่อ มีราคาประเมิน 800,000 บาท
- ปกติจะกู้ได้ร้อยละ 50 ของราคาประเมิน หรือ 400,000 บาท
แต่หากผู้กู้มีต้นไม้ ซึ่งมีมูลค่าตามการประเมินมูลค่าต้นไม้รวมทั้งสิ้น 400,000 บาท ก็จะใช้เป็นหลักทรัพย์ค้ำประกันได้ร้อยละ 50 หรือ 200,000 บาท
- ดังนั้น ผู้กู้รายนี้ จะมีหลักทรัพย์ค้ำประกันทั้งสิ้น 1,200,000 บาท (ราคาประเมินที่ดิน 800,000 + มูลค่าหลักทรัพย์ค้ำประกันที่เป็นต้นไม้ 200,000)
- และจะสามารถได้วงเงินกู้ 600,000 บาท หรือร้อยละ 50 ของ 1,200,000 บาท ซึ่งหมายความว่า ได้เพิ่มจากราคาประเมินที่ดินเปล่า 200,000 บาท เป็นต้นค่ะ
3. การคำนวณปริมาตร และ มูลค่าของต้นไม้
หลายคนอาจจะสงสัยว่า แล้วเราจะมีวิธีคำนวณ หรือ รู้มูลค่าของต้นไม้มีค่าของเราได้อย่างไรล่ะไม่ต้องห่วงค่ะ น้อง Genie ได้เตรียมทุกอย่างมาให้แล้ว ซึ่งการคำนวณปริมาตร และ มูลค่าของต้นไม้นั้น เราจะสามารถตรวจสอบและประเมินได้จากราคากลางต้นไม้ค่ะ ซึ่งจะแบ่งออกเป็น 4 กลุ่มดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้นนั่นเองค่ะ
ตัวอย่างการใช้ตาราง
หากผู้ประเมินวัดไม้สักซึ่งมีขนาดวัดรอบเพียงอก = 78.5 ซม. ซึ่งไม้สักจะอยู่ในกลุ่มที่ 3 ให้เพื่อนๆ ดูตารางที่ 3 เพื่อตรวจสอบและประเมินมูลค่าของต้นไม้จากขนาดเส้นรอบวงค่ะ
หากขนาดที่เราวัดได้ไม่มีปรากฏในตาราง หรือ ได้ขนาดที่ไม่ตรงตามตารางให้เพื่อนๆ คำนวณมูลค่าต้นไม้โดยการเทียบบัญญัติไตรยางศ์ กับ มูลค่าของต้นไม้ในขนาดที่ใกล้เคียงที่สุดค่ะ
ดังนั้นจะได้ข้อสรุปว่า “ไม้สักที่มีขนาดรอบเพียงอก = 78.5 ซม (ดูเส้นรอบวงที่ 75.74 ซม.) จะมีมูลค่า = 2,223 บาท” โดยไม่ต้องพิจารณาว่าต้นไม้ที่นำมาประเมินมีอายุเท่าไหร่
ซึ่งรายละเอียดนั้นจะแบ่งออกเป็นตารางราคากลางดังนี้ค่ะ
4. สถาบันการเงินที่เข้าร่วม
สำหรับสถาบันการเงินที่เขาร่วม การนำต้นไม้มีค่ามาเป็นหลักประกันนะคะตอนนี้จะมีอยู่ทั้งหมด 1 สถาบัน ซึ่งมีดังนี้ค่ะ
1. ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.)
สำหรับธนาคารแรกนะคะ จะเป็น ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) นั่นเองค่ะ ซึ่งเงื่อนไขในการเข้าร่วมโครงการ จะมีดังนี้ค่ะ
- คุณสมบัติของเกษตรกรที่ประสงค์จะกู้เงินโดยใช้ไม้ยืนต้นที่มีค่ามาเป็นหลักทรัพย์ค้ำประกัน
- เป็นลูกค้าของ ธ.ก.ส.
- เป็นสมาชิกของธนาคารต้นไม้
เกษตรกรที่สนใจสามารถสมัครเข้าร่วมโครงการได้ที่ ธ.ก.ส. ทุกสาขาทั่วประเทศค่ะ โดยขั้นตอนการกู้เงินเป็นไปตามระเบียบของ ธ.ก.ส.
เป็นอย่างไรบ้างคะกับต้นไม้มีค่าทั้ง 58 ชนิดที่นำมาเสนอในวันนี้ ส่วนตัวน้อง Genie มองว่าโครงการนี้มีประโยชน์มากๆ เลยค่ะนอกจากจะช่วยให้เกษตรกรปลูกต้นไม้เพื่อเป็นทรัพย์สิน เป็นมรดกให้ลูกหลาน แล้วยังช่วยเพิ่มพื้นที่ป่าสีเขียวให้กลับประเทศอีก ที่สำคัญนะคะ ยังช่วยลดการพึ่งพาหนี้นอกระบบได้อีกด้วยค่ะ
เพื่อนๆ คนไหนที่กำลังมองหาบ้าน หรือคอนโดที่สร้างเสร็จพร้อมตกแต่ง และสามารถเข้าอยู่ได้เลยไม่ควรพลาดเว็บไซต์นี้ค่ะ www.genie-property.com ตัวช่วยง่ายๆในรูปแบบ VR Tour ที่จะทำให้เพื่อนๆ ประหยัดเวลา แถมได้เห็นห้องจริง โดยที่ไม่ต้องเสียเวลาออกไปดูหลายๆ ที่ เว็บนี้ตอบโจทย์เพื่อนๆ แน่นอนค่ะ
และเพื่อเป็นกำลังใจให้น้อง Genie เพื่อนๆ สามารถเข้ามาพูดคุย หรือกดติดตามข่าวสารดีๆเกี่ยวกับแวดวงอสังหาฯ และ ไลฟ์สไตล์กันได้ผ่านทางช่องทางด้านล่างนี้เลยค่าาา
LINE: @genie-property.com
FACEBOOK: Genie-Property.com
EMAIL: sales@genie-property.com
CALL CENTER: 093-232-9888,064-931-8666
Website : www.genie-property.com
แนะนำบทความที่น่าสนใจ
- อัพเดตราคาประเมินที่ดินปี 65 จากกรมธนารักษ์ ทั้ง 77 จังหวัด
- ก่อนซื้อ-ขายที่ดินต้องรู้!! โฉนดที่ดินมีกี่ประเภท?
- สรุปขั้นตอนที่เจ้าของที่ดินต้องรู้!! เมื่อถูกเวนคืนที่ดิน
ขอบคุณข้อมูลจาก