เปรียบเทียบค่าโดยสาร รถไฟฟ้า VS รถเมล์ พร้อมกับวิธีคิดค่าโดยสารแบบใหม่ของ BTS ปี 2022

สร้างเมื่อ Mar 11, 2022

สวัสดีค่าาา ท่านผู้อ่านที่น่ารักกกทุกท่านนน วันนี้น้อง Genie มีบทความที่น่าสนใจเกี่ยวกับการเดินทางมาฝากทุกคนค่าา เมื่อพูดถึงการเดินทางไม่ว่าจะเป็น การเดินเข้าเมืองเพื่อไปทำงาน หรือ เดินทางไปพักผ่อนหย่อนกายในวันหยุด ทุกคนจะต้องคิดถึงเรื่องรถติดใช่ไหมคะ ซึ่งจากโพลสำรวจของ Traffic Index ในปี 2020 นั้นปรากฎว่าประเทศไทย ติด TOP 10 ประเทศที่มีการจราจรติดขัดที่สุดในโลก โดยอยู่อันดับที่ 10 เฉลี่ยแล้ว 44% ค่ะ และแน่นอนค่ะว่าก็ยังมีหนทางที่สามารถหลีกเลี่ยงรถติดได้เช่น นั่งมอเตอร์ไซค์ หรือ นั่งรถไฟฟ้า BTS ก็ได้เช่นเดียวกัน เพราะฉะนั้นวันนี้น้อง Genie จะพาทุกท่านมาเจาะลึกเกี่ยวกับรถไฟฟ้า BTS แต่ละสาย พร้อมกับคำนวณค่าโดยสารแบบใหม่ที่เพิ่งเริ่มอนุมัติใช้กันค่ะ และสำหรับใครที่ต้องการบ้าน หรือ คอนโดที่อยู่ใกล้กับรถไฟฟ้า BTS นะคะ เวปไซต์นี้เลยค่ะ genie-propperty.com ตอบโจทย์สำหรับคนที่มีเวลาน้อย หรือต้องการรับชมห้องตัวอย่างแบบเห็นชัดทุกรายละเอียดด้วยภาพ 360Ċ VIRTUAL TOUR หรือเรียกสั้นๆว่า VR TOUR นั่นเองค่ะ (ขายของหน่อย อิอิ)

undefined

ขอบคุณภาพจาก statista

ก่อนที่เราจะเข้าไปเจาะลึกเรื่องรถไฟฟ้า BTS นะคะ น้อง Genie ได้นำเกร็ดความรู้เล็กๆน้อยๆมาแบ่งปันท่านผู้อ่านด้วยค่ะ เพราะเชื่อว่าหลายๆท่านอาจจะยังไม่ทราบมาก่อนว่า กรุงเทพมหานครของเรานั้นมีประชากรอยู่เท่าไหร่ และหลังจากที่ได้ทำการวิเคราะห์และหาข้อมูลมาแล้วนั้นผลปรากฏว่า

ประชากรใน กรุงเทพมหานคร ประจำเดือน มกราคม 2565

มีทั้งหมด 5,525,255 คน แบ่งเป็น

ชาย 2,590,887 คน

หญิง 2,934,368 คน

ซึ่งหากนำตัวเลขดังกล่าวมาเฉลี่ยก็จะพบว่ากลุ่มคนวัยเรียน วัยทำงาน หรือกลุ่มคนที่ต้องใช้งานรถโดยสาร หรือ รถไฟฟ้า BTS จะอยู่ที่ 81,236 คน (คำนวณจากกลุ่มคนอายุ 21 - 50 ปี)

โดยทั่วไปแล้วการใช้ชีวิตของคนกลุ่มดังกล่าวจะเน้นไปที่การเรียน หรือ ทำงานเป็นส่วนใหญ่ แต่ก็จะมีส่วนน้อยที่นิยมใช้รถไฟฟ้า BTS เพื่อไปเที่ยวหรือพักผ่อนในวันหยุดค่ะ

ค่าโดยสารรถไฟฟ้า BTS

การคำนวณค่าโดยสารแบบใหม่ จะแบ่งออกได้ดังนี้

  • โซนที่ 1

สายสุขุมวิท (สถานีหมอชิต-สถานีอ่อนนุช) มีทั้งหมด 17 สถานี

ค่าโดยสารจะอยู่ที่ 16-44 บาท โดยอิงราคาตามประกาศของ BTS (เนื่องจากยังเป็นสัมปทานของ BTS อยู่)

undefined

สายสีลม (สถานีสนามกีฬาฯ-สถานีวงเวียนใหญ่) มีทั้งหมด 10 สถานี

ค่าโดยสารจะอยู่ที่ 23-44 บาท โดยอิงราคาตามประกาศของ BTS (เนื่องจากยังเป็นสัมปทานของ BTS อยู่)

undefined

โดยคิดเป็น จำนวนสถานีดังนี้

0-1 สถานี=16 บาท

2 สถานี=23 บาท

3 สถานี=26 บาท

4 สถานี=30 บาท

5 สถานี=33 บาท

6 สถานี=37 บาท

7 สถานี=40 บาท

8 สถานีขึ้นไป=44 บาท

  • โซนที่ 2

ส่วนต่อขยายสายสุขุมวิท (สถานีห้าแยกลาดพร้าว-สถานีคูคต) รวม 16 สถานี

จะเก็บค่าแรกเข้า 15 บาท บวกค่าระยะทางสถานีละ 3 บาท สูงสุดใม่เกิน 45 บาท

undefined
  • โซนที่ 3

ส่วนต่อขยายสายสุขุมวิท (สถานีบางจาก-สถานีเคหะฯ) รวม 14 สถานี

จะเก็บค่าแรกเข้า 15 บาท บวกค่าระยะทางสถานีละ 3 บาท สูงสุดไม่เกิน 45 บาท

undefined
  • โซนที่ 4

ส่วนต่อขยายสายสีลม (สถานีโพธิ์นิมิตร-สถานีบางหว้า) รวม 4 สถานี

จะเก็บค่าแรกเข้า 15 บาท บวกค่าระยะทางสถานีละ 3 บาท สูงสุดไม่เกิน 24 บาท

undefined

แต่หากมีการเดินทางข้ามโซน การคิดค่าโดยสารจะคิดตามระยะทางของแต่ละโซนมาบวกกัน และทำการหักลบค่าแรกเข้า เพื่อให้เก็บค่าแรกเข้าแค่ครั้งเดียว

ยกตัวอย่างวิธีคำนวณค่าโดยสาร BTS แบบใหม่

สถานีเพลินจิต - สถานีทองหล่อ

  • N10 สถานีกรมทหารราบที่ 11 > N16 สถานีพหลโยธิน 24 (นับเป็น 1 โซน)

ค่าแรกเข้า 15 บาท + 21 บาท (7 สถานี สถานีละ 3 บาท)

รวมกันเป็น 1 โซน ราคา 36 บาท

สถานีคูคต - สถานีชิดลม

  • N24 สถานีคูคต > N8 สถานีหมอชิต (นับเป็น 1 โซน)

ฟรีค่าแรกเข้า 15 บาท + 44 บาท (ค่าโดยสารตามอัตรา BTS 8 สถานีขึ้นไป ราคา 44 บาท)

  • N7 สถานีสะพานควาย > E1 สถานีชิดลม (นับเป็น 1 โซน)

ค่าโดยสารตามอัตรา BTS 8 สถานีขึ้นไป ราคา 44 บาท

รวมกันเป็น 2 โซน ราคา 88 บาท

สถานีวัดพระศรีมหาธาตุ-สถานีแบริ่ง

  • N17 สถานีวัดพระศรีมหาธาตุ > สถานีห้าแยกลาดพร้าว N9 นับเป็น 1 โซน

ฟรีค่าแรกเข้าจาก 15 บาท + 27 บาท (9 สถานี สถานีละ 3 บาท)

  • N8 สถานีหมอชิต > สถานีอ่อนนุช E9 นับเป็น 1 โซน

ค่าโดยสารตามอัตรา BTS 8 สถานีขึ้นไป ราคา 44 บาท

  • E10 สถานีบางจาก > E14 สถานีแบริ่ง
  • ฟรีค่าแรกเข้าจาก 15 บาท + 15 บาท (5 สถานี สถานีละ 3 บาท)

รวมกันเป็น 3 โซน ราคา 86 บาท

undefined

และสำหรับท่านใดที่ยังไม่ทราบว่า รถไฟฟ้าของประเทศไทยมีมาตั้งแต่เมื่อไหร่ สายแรกมีชื่อว่าอะไร น้อง Genie ได้ทำการรวบรวมข้อมูลคร่าวๆมาให้ท่านผู้อ่านเรียบร้อยค่ะ

โครงการรถไฟฟ้า BTS ถูกสร้างสำเร็จเมื่อปี พ.ศ. 2542 โดยบริษัท ธนายง จำกัด หรือภายใต้ชื่อใหม่คือ บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) ซึ่งถือว่าเป็นระบบขนส่งมวลชนสายแรกในประเทศไทย และได้รับชื่อพระราชทานโครงการว่า “รถไฟฟ้าเฉลิมพระเกียรติ 6 รอบพระชนมพรรษา"

ซึ่งการก่อสร้างโครงการนี้ในระยะแรกนั้นก็พบปัญหาเรื่องสถานที่ตั้งศูนย์ซ่อมบำรุง เนื่องจากสถานที่เดิมจะทำการก่อสร้างที่ “สวนลุมพินี” แต่ประชาชนระแวกนั้นคัดค้านการก่อสร้างจึงทำให้ต้องย้ายไปสถานที่ใหม่ ซึ่งก็คือสถานที่ “พื้นที่ราชพัสดุ ของกรมธนารักษ์” ซึ่งเป็นที่ตั้งของสถานีขนส่งหมอชิตนั่นเองค่ะ

โดยรถไฟฟ้า BTS เปิดให้บริการอย่างเป็นทางการทั้งหมด 2 สาย ในวันที่ 5 ธันวาคม 2542 ได้แก่

"รถไฟฟ้าเฉลิมพระเกียรติ ๖ รอบพระชนมพรรษา สาย ๑" หรือ สายสุขุมวิทในปัจจุบันนั่นเองค่ะ จากสถานีหมอชิต ถึง สถานีอ่อนนุช รวมยะระทาง 17 กม.

"รถไฟฟ้าเฉลิมพระเกียรติ ๖ รอบพระชนมพรรษา สาย ๒" หรือ สายสีลมในปัจจุบันนั่นเองค่ะ จากสถานีสนามกีฬาแห่งชาติ ถึง สถานีสะพานตากสิน รวมยะระทาง 6.5 กม.

undefined

undefined

และสำหรับท่านใดนะคะที่อยากทราบว่าระหว่างขึ้นรถเมล์ และ รถไฟฟ้า BTS เนี้ย ค่าใช้จ่ายจะแตกต่างกันมากขนาดไหน น้อง Genie ได้ทำการรวบรวมค่าโดยสารของรถเมล์มาให้เรียบร้อยแล้วค่ะ

โดยเมื่อวันที่ 1 มกราคม 2565 นะคะ ขสมก. แจ้งว่าจะเก็บค่าธรรมเนียมในการออกบัตรโดยสารล่วงหน้าอิเล็กทรอนิกส์ สำหรับ บุคคลทั่วไป บัตรโดยสารนักเรียน นิสิต นักศึกษา อิเล็กทรอนิกส์ และบัตรโดยสารอิเล็กทรอนิกส์ (แบบรายเที่ยว) ใบละ 30 บาท หลังจากที่ขยายเวลาในยกเลิกการเก็บค่าธรรมเนียมมาตั้งแต่ วันที่ 1 กุมภาพันธ์ ถึง วันที่ 31 ธันวาคม 2564 ค่ะ

ประเภทของรถเมล์ที่ให้บริการ และ อัตราการในให้บริการ

undefined

ที่มา : องค์กรขนส่งมวลชนกรุงเทพ

เป็นอย่างไรกันบ้างคะกับการคิดคำนวณค่าโดยสารรถไฟฟ้า BTS แบบใหม่ ซึ่งต้องบอกก่อนนะคะว่า BTS ไม่ได้ขึ้นค่าโดยสารโดยตรง แต่ผู้ให้บริการรถไฟฟ้าบีทีเอส ได้ทำการยกเลิกโปรโมชั่นบัตรโดยสารรายเดือนไปเมื่อวันที่ 30 กันยายน 2564 อย่างไรก็ตามความเปลี่ยนแปลงนี้จะเห็นได้ชัดจากกลุ่มคนที่ต้องเดินทางไกลผ่านจากเส้นทางสัมปทานไปยังเส้นทางส่วนต่อขยาย ซึ่งจะต้องเสียค่าเดินทางเพิ่มขึ้น เมื่อเทียบกับบัตรรายเดือนนั่นเองค่ะ

สำหรับน้อง Genie นะคะคิดว่าการคำนวณราคาแบบใหม่นี้ถือว่าไม่ยุ่งยาก และไม่ทำให้เสียค่าแรกเข้าหลายต่อ เนื่องจากว่าหากต้องเดินทางจากสถานีหลัก และต่อไปที่สถานีส่วนต่อขยายนั้นก็จะถูกเก็บค่าแรกเข้าเท่าเดิม และที่สำคัญเราสามารถคำนวณค่าใช้จ่ายเองคร่าวๆได้เลยค่ะ ทำให้เวลาตัดสินใจที่จะขึ้นรถไฟฟ้านั้นง่ายขึ้นนั้นเองค่ะ ^^

สำหรับบทความนี้น้อง Genie หวังว่าจะเป็นประโยชน์ต่อผู้อ่านทุกท่านไม่มากก็น้อยนะคะ ><

ขอบคุณข้อมูลจาก

1.Wikipedia

2. Bangkokbiznews

3. สำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง

บทความที่น่าสนใจ

  1. คลองช่องนนทรี สวนสาธารณะเปิดใหม่ใกล้ BTS ช่องนนทรี ปอดแห่งใหม่ของชาวกรุง 2022
  2. สรุปขั้นตอนจดทะเบียนที่ดินออนไลน์ ผ่านแอพ “e-QLands” ของกรมที่ดิน (ฉบับเข้าใจง่าย)
  3. 19 คอนโดใหม่ติดรถไฟฟ้า ราคาไม่เกิน 2 ล้าน ปี 2564