จุฬาฯ ไล่ทุบ 4,000 ตึกแถว สวนหลวง - สามย่าน ทำอาณาจักร Mix use

สร้างเมื่อ Sep 18, 2021

จากข่าวฐานเศรษฐกิจประกาศวันที่ 16-17 ก.ย. ที่ผ่านมาเกี่ยวกับ จุฬาฯ ทำแผนพัฒนา “สวนหลวง-สามย่าน” 291ไร่ เพื่อขึ้นตึกสูงเมืองมิกซ์ยูสอัจฉริยะแสนล้าน เชื่อมโยง สยามสแควร์ ซึ่งทยอยไล่ทุบตึกเก่ากว่า 4,000 คูหา ปัจจุบันเริ่มลุยโปรเจคบล็อค 29 ใกล้สามย่านมิตรทาวน์ หลังเพิ่มเงื่อนไขขยายเช่า 50 ปี บล็อก 34 ดึง บิ๊กทุนบูมเมืองการแพทย์ รื้อบล็อก 54-57 ลุยสปอร์ตซิตี้ รับสนามกีฬา เป้าหมายที่สำนักงานจัดการทรัพย์สินจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หรือ PMCU วางไว้ในอาณาจักรแห่งนี้ มีอะไรบ้างมาดูกันค่ะ

เป้าหมาย Smart City ปี 2580 พลิกตึกแถวเก่า 4,000 คูหา เป็นอาณาจักร MIxuse

  • บล็อค 21-22 หัวมุมพระราม 4 ติดพญาไท จำนวน 13 ไร่ ถูกปรับปรุงเป็น สามย่านมิตรทาวน์ เปิดให้บริการแล้ว
undefined

ขอบคุณภาพ : https://www.facebook.com/SAMYANMITRTOWN

  • บล็อค 28 จุฬา ซอย 9 จำนวน 8 ไร่ ( ตึกร้าง ) ถูกสร้างเป็น สตาร์ทอัพ วิลเลจ เปิดให้บริการแล้ว
undefined

ขอบคุณภาพจาก : PMCU

  • บล็อค 34 (บรรทัดทอง) ใกล้อุทยาน 100 ปี เปิดประมูล PPP แพทย์ครบวงจร ( Wellness/ Health Complex ) เนื้อที่ 12 ไร่ เพิ่มข้อเสนอเช่าพื้นที่ 30 ปี เป็นไม่เกิน 50 ปี
undefined

ขอบคุณภาพ : google map

  • บล็อค 33 และถนนจุฬาซอย 9 จำนวน 13 ไร่ ติดบล็อค 34 สร้างเป็น Mix use Condo/ หอพักนิสิต/ รีเทล ( จุฬาฯพัฒนาเอง )

พระราม 4 ใกล้สามย่านมิตทาวน์

  • บล็อค 29 จำนวน 16 ไร่ Mix-use เปิดประมูล PPP ( หลังบล็อค 34 พัฒนา/ เปิดบริการ ) แผนเดิม บล็อค 28-29 จะเป็นศูนย์แสดงสินค้า-จุดนัดพบแห่งพระราม 4
  • บล็อค 23 - 24 สามย่านเมืองธุรกิจแห่งอนาคต

หัวมุมพระราม 1 ติดสนามกีฬาแห่งชาติ

  • เมืองกีฬา/ สปอร์ตคอมมูนิตี้ เชื่อมสนามกีฬา แผนเดิม ศูนย์สุขภาพพลานามัยชั้นดี สนามกีฬาแห่งชาติ 114 ไร่ อยู่ระหว่างวางมาสเตอร์แพลน คงสเตเดียมเดิม/ เปิดพื้นที่พาณิชยกรรมคอมเพล็กซ์/ เพิ่มพื้นที่สีเขียว
undefined

ภาพ : พื้นที่แผนพัฒนา “สวนหลวง-สามย่าน” เป็น MIx use ของจุฬาฯ ( โดยสังเขป )

รายงานข่าวจาก PMCU ระบุว่า PMCU ได้ปรับแผนแม่บท ให้สอดรับกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปทั้งสถานการณ์โควิด-19 และ พฤติกรรมผู้บริโภคเพราะแผนแม่บทเดิมจัดทำไว้เมื่อ 5 ปีก่อน โดยแปลงที่ดินจะเปิดต่อคือบล็อก 29 สุดถนนพระราม4 เนื้อที่ 16 ไร่ ใกล้สามย่านมิตรทาวน์ รูปแบบมิกซ์ยูส ซึ่งระหว่างปี2561-2580 มีเป้าหมายเปลี่ยนตึกแถวเก่า ย่านปทุมวันเป็นเมืองอัจฉริยะเน้นพัฒนาเมืองให้เกิดความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจ เพราะที่ดินตั้งอยู่กลางใจเมือง ท่ามกลางรถไฟฟ้าและตึกสูงรายรอบ 

กว่า 4,000คูหา ตึกแถวย่านค้าเก่าทั้งของคนจีน คนไทยเชื้อสายจีน ที่ขยายตัวมาจากเยาวราชทยอยทุบทิ้งพลิกโฉมเป็นมิกซ์ยูสตึกสูงใหญ่ มีพื้นที่ใช้สอยต่ออาคารรวมกันนับแสนตารางเมตรสร้างแลนด์มาร์คใหม่ ดึงคนเข้าพื้นที่อย่างสมาร์ทมิกซ์ยูสสามย่านมิตรทาวน์ 2.2 แสนตารางเมตร ที่ผุดขึ้นแทนที่ย่านพาณิชย์แนวราบเก่าแก่เกือบ 200 คูหา หัวมุมถนนพระราม4ตัดพญาไท ไม่ห่างกันมาก มีแผนรื้อตึกแถวสร้างมิกซ์ยูส หรือบล็อก29 พื้นที่รวม16ไร่ 

PMCU ระบุว่า หากตึกจะหมดสัญญาจะไม่ต่อใหม่หรือทำสัญญาปีต่อปี จะไม่ทำสัญญายาวๆ 10, 15, 20, 30 ปี เหมือนอดีต เพราะไม่คุ้มค่าบางกลุ่มอาจตกลงใจไม่ทำสัญญาต่อก็จะรื้อเพื่อรอพัฒนา  

ขณะนี้ตึกแถว ร้านค้า ทำเลสามย่านก็ถูกรื้อถอน เพื่อสร้างคอนโดมิเนียม อย่างพื้นที่ระหว่าง อุทยาน 100 ปี จุฬาฯ กับตลาดสามย่านถูกรื้อถอนออกไปจนเกือบหมด เหลือไว้เพียง ศาลเจ้าแม่ทับทิม สะพานเหลือง แม้ว่าทางจุฬาฯ จะขอย้ายศาลเจ้าแม่ทับทิมเข้าไปอยู่ณอุทยาน100 ปี เมื่อมีเงื่อนไขไม่ให้คนจุดธูปเทียนหรือมีคนเฝ้าศาล ชาวบ้านก็ไม่ยินยอม เพราะศาลเจ้าจีนแห่งนี้เป็นทั้งศูนย์รวมความศรัทธาของชาวจีนที่อพยพมาตั้งรกรากในย่านเขตบางรัก พระราม 4 และบริเวณใกล้เคียงมาอย่างช้านาน  

ความเป็นมาของศาลเจ้าแม่ทับทิม สะพานเหลือง

undefined

ขอบคุณภาพจาก : THE PEOPLE 

ศาลนี้เกิดขึ้นตั้งแต่ต้นรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ซึ่งจากคำบอกเล่าของ นายโพธ์ พลอยสีสวย ทายาทผู้ดูแลศาลเจ้ารุ่นที่ 4 กล่าวว่าทวด ( นาย จู๋ แซ่ตั้ง ) ได้รับองค์เจ้าแม่ทับทิมที่พี่ชายทวดได้มอบให้หลังจากที่พบในแม่น้ำมาสร้างศาลเพื่อเป็นที่สักการะบูชาโดยเริ่มตั้งเป็นศาลเล็กๆ ช่วงต่อมาชาวจีนอพยพมาตั้งรกรากย่านนี้จนเต็มพื้นที่เรื่อยๆ จากสนามศุภฯ มาถึงพระราม 4 ได้แวะเวียนมากราบไหว้บูชากันแล้วได้รับผลความสำเร็จจึงร่วมสร้างศาลใหญ่ขึ้นมา และด้วยความสามารถของปู่ทวดของคุณโพธิ์ ที่ดูแลคนจีนให้ย่านนี้อยู่ในกฎระเบียบเรียบร้อย ทางการได้มอบตำแหน่งจางวางให้ทวดของเขา ซึ่งครั้งนึง ร.5 เสด็จมากราบเจ้าแม่ทับทิมอย่างเงียบๆ และพระองค์จึงทรงพระราชทานที่ดินที่สร้างศาลเจ้าและที่ชาวจีนอยู่อาศัยกันทำกินอยู่ชั่วลูกชั่วหลาน 

จากการเล่าขานของคนในชุมชนสามย่าน ศาลเจ้าแม่ทับทิม ตั้งอยู่บนพื้นที่สะพานเหลือง ณ บริเวณซอยจุฬาลงกรณ์ 30 แห่งนี้ มาตั้งแต่ปี พ.ศ.2505 อีกทั้งมีหลักฐานว่า กระถางธูปพระราชทาน โดยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ทรงพระราชทานแก่ศาลเจ้าแม่ทับทิม มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2454

สิ่งที่ทรงคุณค่าคือศาลเจ้าแห่งนี้เป็นสถาปัตยกรรมแบบเต้จิ๋วจากช่างในยุคก่อน สิ่งที่หลายฝ่ายกังวลคือ การรื้อถอนครั้งนี้อาจต้องมีการปรับเปลี่ยนโครงสร้างจากแบบเดิมให้เหมาะสมกับพื้นที่ใหม่ อาจจะทำลายเอกลักษณ์ของสถาปัตยกรรมแบบเต้จิ๋ว และรวมถึงไม่ให้จุดธูป ไม่มีลานแสดง อย่าง แสดงงิ้ว ตีกลอง จุดประทัด โรงหนังกลางแปลง ก็ส่งผลให้กิจกรรมทางวัฒนธรรมที่คู่กับศาลเจ้าเลือนหายไปด้วยนั่นเองค่ะ 

บทสรุปโครงการนี้จะเป็นอย่างไรต่อไป ? 

จากเสียงสะท้อนของคนอยู่อาศัยเดิมได้มองว่า การปรับปรุงและพัฒนาที่ดินจุฬาฯ อาจส่งผลเสีย ต่อผู้ที่ยังอยู่อาศัยอยู่ในพื้นที่เนื่องจากช่วงที่เริ่มไล่ผู้อยู่อาศัยออกและมีการทุบตึก เพื่อปรับปรุงถนนหนทาง ส่งผลให้ย่านนี้เงียบเหงาลงคนที่ยังเช่าอยู่ก็ไม่สามารถจะค้าขายได้ตามปกติ และทางข่าวฐานเศรษฐกิจเชื่อว่า คนที่เคยอยู่เก่าแก่ ในย่านนี้ ลูกหลาน คนรุ่นใหม่คงหาที่อยู่ใหม่ไม่ย่านใกล้เคียงก็ออกไปนอกเมืองเสียเลย!!  

ในเชิงพาณิชย์ Genie ก็เข้าใจค่ะว่าการต่อยอดหรือพัฒนาที่ดินราคาสูงให้เกิดประโยชน์สูงสุดเพื่อรองรับจำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้นย่อมสร้างผลกำไรมหาศาลที่ตามมา แต่ก็แอบใจหายนะคะที่พื้นที่เป็นประวัติศาสตร์หรือสถาปัตยกรรมชุมชนเก่าแก่จะเหลือไว้เพียงในอดีตและถูกแทนที่ด้วยตึกระฟ้า

แหล่งอ้างอิงข้อมูล

ข่าวฐานเศรษฐกิจ : ตึกแถวเก่า4,000คูหา "สวนหลวง-สามย่าน" จุฬาฯจ่อสูญพันธุ์
THEPEOPLE ศาลเจ้าแม่ทับทิม สะพานเหลือง : ความศรัทธา ประวัติศาสตร์ ไม่อาจต้านความเปลี่ยนแปลง