รู้ยัง! ลดหย่อนภาษีบ้านหลังแรก ไม่ต้องใช้เอกสารแล้วนะ

สร้างเมื่อ Mar 30, 2022

“ภาษี” หลายคนน่าจะรู้จักกับคำนี้เป็นอย่างดีนะคะ แต่เชื่อเถอะค่ะว่ายังมีหลายคนโดยเฉพาะเด็กจบใหม่ หรือคนที่เพิ่งเริ่มต้นทำงาน คงมีคำถามที่คาใจว่าทำไมต้องยื่นภาษี มีเงินเดือนเท่าไหร่จึงจะต้องยื่นภาษี และกังวลว่าจะต้องเสียภาษีหรือไม่ ซึ่งวันนี้น้อง Genie ได้รวบรวมข้อมูลที่เป็นข้อสงสัยของใครหลายๆคนมาไว้ที่บทความนี้แล้วค่ะ นอกจากนั้นยังไม่พอในบทความนี้ยังได้นำเอา ค่าใช้จ่ายที่สามารถลดหย่อนภาษีได้มาให้ทุกคนได้ตรวจสอบกันอีกด้วยค่ะ หากอยากรู้แล้ว ก็ตามเลยค่ะ

undefined

ภาษีคืออะไร

“ภาษี” คือ สิ่งที่ประชาชนมีต้องนำส่งให้ภาครัฐตามกฎหมายที่กำหนดนะคะ เพื่อที่ภาครัฐนั้นจะได้นำภาษีของเรานั้นไปปรับปรุง แก้ไขพื้นที่สาธารณะส่วนกลาง และใช้พัฒนาประเทศนั้นเองค่ะ เรียกได้ว่าภาษีนั้นเป็นแหล่งเงินได้ที่สำคัญของภาครัฐแทบจะทุกประเทศเลยค่ะ

ซึ่งไม่ว่า “ภาษี” จะเป็นประเภทใดก็จะประกอบไปด้วย 6 องค์ประกอบพื้นฐาน และยังสามารถปรับใช้กับภาษีอากรได้ทุกประเภท โดยสามารถแบ่งออกได้ดังนี้

1. ผู้เสียภาษี

กฎหมายต้องกำหนดชัดเจนว่า ผู้เสียภาษีเป็นใคร เพื่อที่จะให้บุคคลนั้นรู้ว่าตนเองมีหน้าที่ต้องเสียภาษีตามกฎหมาย ซึ่งจะแบ่งตามประเภทได้ดังนี้

  • ผู้ที่รับเงินเดือนเงิน 15,000 บาทขึ้นไป มีหน้าที่เสีย “ภาษีเงินได้”
  • ผู้ประกอบการ มีหน้าที่เสีย “ภาษีมูลค่าเพิ่ม”

2. ฐานภาษี

เมื่อทราบแล้วว่าผู้ที่จะเสียภาษีให้ภาครัฐนั้นเป็นใคร ฐานภาษีนั้นจะมีหน้าที่เป็นตัวกำหนดว่าเพราะเหตุใดบุคคลนั้นจึงต้องมีหน้าที่เสียภาษีดังกล่าว

  • ภาษีเงินได้ กำหนดให้ฐานภาษี คือ “รายได้”
  • ภาษีมูลค่าเพิ่ม กำหนดให้ฐานภาษี คือ “สินค้า หรือ บริการ

3. อัตราภาษี

ซึ่งในข้อนี้นะคะจะเป็นส่วนที่สำคัญมาก เพราะว่าการที่เราจะเสียภาษีมาก หรือ ภาษีน้อยนั้นขึ้นอยู่กับ อัตราภาษี ที่ใช้คำนวณกับฐานภาษีนั่นเองค่ะ

4. วิธีการเสียภาษี

วิธีการเสียภาษีในปัจจบันนั้น กฎหมายกำหนดให้เรานั้นต้องประเมินภาษีด้วยตนเอง โดยสามารถโหลดดแบบฟอร์มในการประเมินตนเองได้จากเว็ปไซต์ของ “กรมสรรพากร” ค่ะ

5. การระงับข้อพิพาท

ในข้อนี้นะคะ ถ้าเกิดเหตุการณ์ที่เจ้าหน้าที่มีความคิดเห็นแตกต่างในการคำนวณภาษีของเรานั้นเจ้าหน้าที่มีอำนาจในการโต้แย้งไม่เห็นด้วย

แต่ถ้าหากเราไม่เห็นด้วยในการคำนวณค่าใช้จ่ายในการเสียภาษีของเจ้าหน้าที่นั้น เราก็มีสิทธิ์ที่จะโต้แย้งได้เช่นกัน ซึ่งการระงับข้อพิพาทจึงเป็นทางออกของความขัดแย้งนี้ โดยมีตั้งแต่ การยอมรับและจ่ายภาษีตามนั้น หรืออาจจะเป็นคดีความที่ต้องขึ้นศาลกันเลยก็มีค่ะ

6. การบังคับคดี

ในกรณีที่มีผู้เสียภาษีไม่ปฎิบัติตามกฎหมาย หรือ ไม่เสียภาษี ซึ่งกฎหมายจะเป็นคนที่กำหนดว่าผู้ที่ไม่เสียภาษีนั้นจะต้องทำอย่างไร บางรายรุนแรงถึงขั้นยึดทรัพย์ขายทอดตลาดเพื่อทำเงินมาเสียภาษีเลยก็มีค่ะ

undefined

ทำไมต้องยื่นภาษี

การยื่นภาษีนั้นเป็นข้อกำหนดของกฎหมายสรรพากรเพื่อให้ประชาชนทุกคนที่มีรายได้ รวมไปถึงผู้ที่ประกอบอาชีพสร้างรายได้ทุกแบบ แต่ยกเว้นผู้เยาว์นะคะ จำเป็นที่จะต้องแสดงรายได้ เพื่อให้ภาครัฐเก็บสถิติผู้ที่มีรายได้ของประเทศได้อย่างแม่นยำค่ะ เพื่อนำไปวางแผนพัฒนาประเทศต่อไป

นอกจากนี้ยังเป็นการแสดงหลักฐานในการทำธุรกรรมต่างๆ เพื่อแสดงรายได้ในการขอสินเชื่อ หรือขอเงินกู้ต่างๆนั่นเองค่ะ

ข้อควรรู้ในการยื่นภาษี

อย่างที่ทราบกันอยู่แล้วนะคะ ว่าคนไทยทุกคนที่มีรายได้เกิน 120,000 บาทต่อปี มีหน้าที่ที่จะต้องยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ในกรณีที่ไปยื่นเองที่สำนักงานสรรพากรสามารถไปยื่นได้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2565 จนถึงวันที่ 31 มีนาคม 2565 ค่ะ ในส่วนของการยื่นแบบออนไลน์ในปีนี้จะยื่นได้จนถึงวันที่ 8 เมษายน 2565 ค่ะ ซึ่งในการยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจะแบ่งออกเป็น 2 แบบ ดังนี้ค่ะ

  1. ภ.ง.ด.90 ผู้ที่มีรายได้นอกเหนือจากเงินเดือนที่ได้รับ เช่น ค้าขายแบบบุคคลธรรมดา หรือเงินปันผล
  2. ภ.ง.ด.91 ผู้ที่มีรายได้เป็นเงินเดือนโดยไม่มีรายได้เสริม เช่น พนักงานบริษัทที่รับเงินเดือนเพียงอย่างเดียว

ยื่นภาษีต้องเตรียมเอกสารอะไรบ้าง

ในการยื่นภาษีนั้นเพื่อนๆจะต้องเตรียมเอกสารให้พร้อมนะคะ ซึ่งเอกสารนั้นจะประกอบไปด้วย

  • เอกสารหลักฐานแสดงรายได้ หนังสือรับรองเงินเดือน (50 ทวิ) จากนายจ้าง ซึ่งในเอกสาร 50 ทวิ จะมีรายละเอียดสำคัญ เช่น รายได้รวมที่แสดงให้เห็นว่า ในปีนั้นเรามีรายได้รวมเท่าไหร่ หรือเงินสมทบประกันสังคมทั้งหมดเท่าไหร่
  • เอกสารแสดงรายการลดหย่อนภาษีกลุ่มต่าง ๆ ที่รวบรวมไว้ตลอดทั้งปี เช่น ค่าเลี้ยงดูพ่อแม่ หรือบุตร เบี้ยประกันชีวิต ประกันสุขภาพ เอกสารช้อปดีมีคืนค่ะ

สำหรับรายการค่าใช้จ่ายที่สามารถลดหย่อนภาษีได้นั้น น้อง Genie ได้ทำการสรุปมาให้เพื่อนๆแล้ว มีดังนี้ค่ะ

undefined

รายการค่าใช้จ่ายที่สามารถลดหย่อนภาษี ปี 2565

ค่าใช้จ่ายที่สามารถนำมาลดหย่อนภาษีนั้นจะแบ่งออกเป็น 5 หมวดหมู่ ดังนี้ค่ะ

กลุ่มที่ 1 ลดหย่อนภาษีส่วนตัว และ ครอบครัว

undefined

กลุ่มที่ 2 กลุ่มลดหย่อนภาษีด้วยเบี้ยประกัน

undefined

กลุ่มที่ 3 กลุ่มลดหย่อนภาษีด้วยกองทุน

undefined

กลุ่มที่ 4 กลุ่มลดหย่อนภาษีด้วยเงินบริจาค

undefined

กลุ่มที่ 5 กลุ่มลดหย่อนภาษีด้วยมาตรการรัฐ

undefined

สำหรับในกลุ่มที่ 5 นะคะ สัญญากู้ยืมเงินที่เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2564 หากประสงค์ที่จะใช้สิทธิลดหย่อนภาษีดอกเบี้ยกู้ซื้อบ้านนั้น ไม่จำเป็นต้องใช้เอกสารอีกต่อไปแล้วค่ะ โดยสามารถแจ้งเรื่องได้ดังนี้ค่ะ

  • เมื่อ “ผู้กู้” ประสงค์ที่จะทำสัญญากู้เงินเพื่อซื้อ เช่าซื้อ หรือสร้างที่อยู่อาศัย ให้แจ้งความประสงค์ด้วยว่าต้องการใช้ “สิทธิลดหย่อนภาษี”
  • จากนั้นให้แจ้ง “ผู้ให้กู้ยืม” ขอให้นำส่งข้อมูลดอกเบี้ยเงินกู้ยืมให้กรมสรรพากรในรูปแบบดิจิตอล หรือ อิเล็กทรอนิกส์
  • เมื่อทำเช่นนี้แล้วเมื่อถึงเวลาในการขอลดหย่อนภาษีนั้น “ผู้กู้” ก็ไม่จำเป็นที่จะต้องเตรียมเอกสาร หรือ ไม่จำเป็นที่จะต้องเก็บหนังสือรับรองดอกเบี้ยเงินกู้จาก “ผู้ให้กู้” อีกต่อไปแล้วค่ะ

** “ผู้ให้กู้ยืม” ได้แก่ ธนาคาร, บริษัทตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเนทุน และ ธุรกิจหลักทรัพย์ **

ยื่นภาษีไม่ทันทำอย่างไร

ในกรณีที่เพื่อนๆยื่นภาษีไม่ทันไม่ว่าจะเป็นทั้งการยื่นด้วยตนเองที่ “สำนักงานกรมสรรพากร” หรือ “ยื่นแบบออนไลน์” เพื่อนๆสามารถยื่นย้อนหลังได้ค่ะ แต่จะต้องไปยื่นด้วยตนเองที่ “สำนักงานกรมสรรพากร” ใกล้บ้านเท่านั้นนะคะ

เมื่อเพื่อนๆต้องยื่นภาษีย้อนหลังสิ่งที่น้อง Genie อยากแนะนำเลยก็คือ เรื่องการเตรียมเอกสารค่ะ เพราะการยื่นภาษีย้อนหลังนั้นเจ้าหน้าที่อาจจะขอเอกสารเพิ่มเติม เพราะฉะนั้นควรที่จะเตรียมเอกสารให้พร้อม เตรียมตัวดี มีชัยไปกว่าครึ่งค่ะ และที่สำคัญอย่าลืมนำแบบฟอร์ม ภ.ง.ด. 90 หรือ ภ.ง.ด. 91 ไปด้วยนะคะ

เมื่อเราเตรียมเอกสารและแบบฟอร์มเรียบร้อยแล้ว สิ่งที่ต้องเตรียมอีกหนึ่งอย่างเลยก็คือ “ค่าปรับที่เกิดจากการยื่นภาษีล่าช้า” นั่นเองค่ะ ซึ่งกรรมสรรพากรนั้นได้กำหนดบทลงโทษไว้อย่างชัดเจน แบ่งเป็น 2 กรณี ดังนี้ค่ะ

1. กรณีไม่ยื่นแบบภาษีเงินได้ ในระยะเวลาที่กำหนด

จะต้องมีโทษปรับทางอาญาไม่เกิน 2,000 บาท ตามมาตรา 35 แห่งประมวลรัษฎากร แต่สามารถขอลดค่าปรับได้

2. กรณียื่นแบบภาษีเงินได้ย้อนหลัง

อย่างที่ทราบกันดีอยู่แล้วนะคะ ว่าถ้าหากเรายื่นภาษีไม่ทัน เราสามารถยื่นย้อนหลังได้ แต่จะต้องเสียทั้งค่าปรับ และ เงินเพิ่ม ซึ่งสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 แบบ ดังนี้ค่ะ

  • ยื่นภาษีย้อนหลัง และต้องจ่ายภาษีด้วย

ในกรณีที่เพื่อนๆยื่นภาษีย้อนหลัง และต้องมีการเสียภาษีด้วยนั้น นอกจากจะต้องเตรียมเงินที่จะต้องเสียค่าภาษีแล้วนั้น เพื่อนๆยังจะต้องเตรียมเงินสำหรับ ค่าปรับในกรณีที่ยื่นภาษีล่าช้า ไม่เกิน 2,000 บาท และ เงินเพิ่ม*ร้อยละ 1.5 ต่อเดือน (เศษของเดือนที่ต้องจ่ายภาษีปัดเป็น 1 เดือน)

*เงินเพิ่ม คือ การคิดดอกเบี้ยจากการจ่ายภาษีล่าช้า*

  • ยื่นภาษีย้อนหลัง และไม่ต้องจ่ายภาษี

สำหรับกรณีนี้ หากเพื่อนๆทำการยื่นภาษีเพียงอย่างเดียว ไม่มีภาษีที่ต้องจ่ายนั้น เพื่อนๆเพียงแค่เตรียม ค่าปรับในกรณีที่ยื่นภาษีล่าช้า ไม่เกิน 2,000 บาท ก็เป็นอันเรียบร้อยค่ะ

และในวันนี้นะคะน้อง Genie ได้นำวิธีลดหย่อนภาษีบ้านหลังแรกมาให้เพื่อนได้รับชมเพื่อเป็นตัวอย่าง และ แนวทางในการเตรียมตัวพร้อมอัปเดตเอกสารที่ต้องใช้ลดหย่อนภาษีบ้านประจำปี 2565 ค่ะ

undefined

วิธีการลดหย่อนภาษีบ้านหลังแรก

น้อง Genie เชื่อว่าหลายท่านอาจจะยังไม่ทราบว่าการซื้อ คอนโด หรือ บ้านในครั้งแรกนั้น เราสามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้สูงสุดถึง 100,000 บาทเลยทีเดียว เพราะฉะนั้นวันนี้น้อง Genie ได้รวบรวมข้อมูลที่สำคัญมาให้เพื่อนๆแล้วค่ะ ไม่ว่าจะเป็นการเตรียมเอกสารเพื่อใช้ลดหย่อนภาษีดอกเบี้ยบ้านบ้านหลังแรกนั้นมีอะไรบ้าง เงื่อนไขต่างๆที่ควรรู้ หากพร้อมแล้ว เรามาดูกันเลยยยย

ประเภทของอสังหาฯที่สามารถลดหย่อนภาษีบ้านหลังแรก

สำหรับประเภทของอสังหาริมทรัพย์ที่อยู่ในเกณฑ์ที่สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้นั้นนะคะ ต้องเป็นที่อยู่อาศัย เช่น บ้านพร้อมที่ดิน คอนโดมิเนียม ทาวน์โฮม บ้านแฝด ไม่ว่าจะเป็นมือหนึ่งหรือมือสองได้ทั้งนั้นแต่ต้องมีวัตถุประสงค์เพื่ออยู่อาศัยเท่านั้นค่ะ

เงื่อนไขการใช้สิทธิลดหย่อนภาษีบ้านหลังแรก

โดยตามประมวลรัษฎากร ได้กำหนดให้การลดหย่อนภาษีดอกเบี้ยเงินกู้ยืมสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยนั้น ได้ตามที่จ่ายไปจริง แต่ต้องไม่เกินจำนวนเงินสูงสุด 100,000 บาท ซึ่งมีเงื่อนไขหลักๆ ดังต่อไปนี้ค่ะ

  • ต้องเป็นการกู้ยืมจากสถาบันการเงินที่ประกอบกิจการภายในราชอาณาจักรไทยเท่านั้น เช่น ธนาคาร, นายจ้างที่มีกองทุนสวัสดิการให้กู้ซื้อบ้าน และ กองทุน กบข. เป็นต้นค่ะ
  • ต้องเป็นดอกเบี้ยเงินกู้ยืมตามสัญญากู้ยืมเงินเพื่อซื้อ เช่าซื้อบ้านพร้อมที่ดิน คอนโดมิเนียม ทาวน์โฮม บ้านแฝด หรือเพื่อสร้างอาคารใช้อยู่อาศัยบนที่ดินของตนเองหรือบนที่ดินที่ ตนเองมีสิทธิครอบครอง
  • ทรัพย์สินที่กู้จะต้องใช้เป็นหลักประกันในการกู้ (จำนอง) ด้วย
  • หากมีการกู้สำหรับที่อยู่อาศัยมากกว่า 1 แห่ง สามารถใช้ลดหย่อนได้ทุกแห่งแต่รวมกันแล้วต้องไม่เกิน 100,000 บาท
  • กรณีที่เป็นการกู้ร่วมกันหลายคน สามารถลดหย่อนได้ทุกคน โดยเฉลี่ยตามส่วนของกรรมสิทธิ์ของแต่ละคน ซึ่งรวมกันแล้วต้องไม่เกิน 100,000 บาท

หลักฐานที่ต้องใช้สำหรับการลดหย่อนภาษีบ้านหลังแรก

สำหรับผู้ที่ต้องการใช้สิทธิลดหย่อนภาษีบ้านหลังแรกนั้นนะคะ จะต้องเตรียมเอกสารหลักฐานในการประกอบการยื่นภาษี ซึ่งมีดังต่อไปนี้ค่ะ

  • หนังสือรับรองจำนวนเงินที่ชำระค่าซื้ออสังหาริมทรัพย์ และ หนังสือรับรองการซื้ออสังหาริมทรัพย์ว่าเป็นที่อยู่อาศัยหลังแรก (สามารถดาวน์โหลดแบบฟอร์มได้ที่นี่)
  • สำเนาสัญญาซื้อขาย (ท.ด.13) หรือสำเนาหนังสือโอนกรรมสิทธิ์อาคารพร้อมที่ดิน หรือสำเนาสัญญาซื้อขายห้องชุดในอาคารชุด (อ.ช.23) หรือสำเนาห้องชุดในอาคารชุดแล้วแต่กรณี มีตราครุฑ
  • สำเนาสัญญากู้ยืมเงิน (กรณีกู้ยืมเงินจากสถาบันการเงิน)

และตามที่กล่าวไปข้างต้นในหัวข้อ “กลุ่มที่ 5 กลุ่มลดหย่อนภาษีด้วยมาตรการรัฐ” ซึ่งกรมสรรพากรนั้นได้ประกาศออกมาแล้วนะคะว่า กรณีสัญญากู้ยืมเงินที่เริ่มตั้งแต่ 1 มกราคม 2564 เป็นต้นไปไม่จำเป็นต้องใช้เอกสารอีกต่อไปแล้วค่ะ เพื่อความสะดวกและรวดเร็วนั่นเองค่ะ

เป็นอย่างไรกันบ้างคะกับการยื่นภาษี และ การลดหย่อนภาษีบ้านหลังแรก น้อง Genie เชื่อว่าหากเพื่อนๆได้เข้ามาอ่านบทความนี้ แม้จะเป็นมือใหม่ในการยื่นภาษี เพื่อนๆก็น่าจะทำตามกันได้ไม่ยากค่ะ เพียงแค่เราทำตามขั้นตอน เตรียมเอกสารให้พร้อม ก็ไม่มีอะไรที่ต้องกังวลแล้วหล่ะค่ะ หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์ต่อทุกคนไม่มากก็น้อยนะคะ

ทุกคนสามารถติดตามบทความอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับอสังหาริมทรัพย์ และ ไลฟ์สไตล์ ได้ที่

Website : www.genie-property.com

Facebook : Genie-Property.com

ขอบคุณข้อมูลจาก

กรมสรรพากร

DD Property

Promotions