ปลูกพืช เลี้ยงสัตว์บนที่รกร้าง ประหยัดภาษี แถมมีมูลค่า

สร้างเมื่อ Jun 17, 2022

เพื่อนๆ อาจจะหลายคนกำลังสงสัยว่าหากเรามีที่ดินว่าง หรือ พื้นที่รกร้าง อยากจะปรับเปลี่ยนเป็นพื้นที่เกษตรเพื่อทำมาหากิน พร้อมสร้างรายได้ให้เราไปด้วย แต่ไม่รู้จะปลูกอะไร แล้วต้องปลูกจำนวนเท่าไหร่ถึงจะเรียกว่าเป็น “พื้นที่เกษตร” และเพื่อที่เราจะได้เสียภาษีในอัตราที่ถูกลง แน่นอนค่ะวันนี้น้อง Genie มีคำแนะนำสำหรับเพื่อนๆ ที่กำลังต้องการเปลี่ยนที่ดินว่างเปล่า หรือ พื้นที่รกร้างให้สามารถใช้ประโยชน์ แถมได้เงิน ซึ่งจะมีรายละเอียดอย่างไรบ้างนั้น ไปอ่านพร้อมๆ กันเลยค่าาา

undefined

1. ภาษีที่ดิน และ สิ่งปลูกสร้าง

สำหรับ “ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง” ปี 2565 นั้นนะคะ ทางกระทรวงการคลังได้เริ่มจัดเก็บภาษีแบบเต็มจำนวนเป็นปีแรก หลังจากที่ปรับลดกว่า 90% เป็นระยะเวลากว่า 2 ปีแล้วนั่นเองค่ะ ซึ่งอัตราการเก็บภาษีนั้นจะยังคงใช้เป็นอัตราเดิมของปี 2563 - 2564 ไปจนถึงปี 2566 เลยค่ะ ทั้งนี้ผู้ที่เสียภาษียังคงได้รับการบรรเทาภาระภาษีหลายกรณีดังนี้ค่ะ

  • ที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่เจ้าของเป็นบุคคลธรรมดาและใช้ประกอบเกษตรกรรมได้รับยกเว้นภาษี
  • ที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่ใช้เป็นที่อยู่อาศัยที่เจ้าของเป็นบุคคลธรรมดา และมีชื่อในทะเบียนบ้านในวันที่ 1 มกราคม จะได้รับยกเว้นมูลค่าฐานภาษีไม่เกิน 50 ล้านบาท
  • กรณีที่เป็นเจ้าของเฉพาะสิ่งปลูกสร้าง ก็จะได้รับยกเว้นมูลค่าฐานภาษีสำหรับสิ่งปลูกสร้างที่มีมูลค่าไม่เกิน 10 ล้านบาท ดังนั้น ผู้ที่เป็นเจ้าของทรัพย์สิน มูลค่าไม่เกิน 50 ล้านบาท หรือไม่เกิน 10 ล้านบาท แล้วแต่กรณี จะไม่ได้รับผลกระทบ แต่สำหรับบุคคลที่เป็นเจ้าของทรัพย์สินดังกล่าวที่มีมูลค่าเกิน 50 ล้านบาท หรือเกิน 10 ล้านบาท แล้วแต่กรณี จะเสียภาษีเต็มอัตราเฉพาะส่วนที่เกินเท่านั้น
  • การผ่อนปรนภาระภาษีให้แก่ผู้เสียภาษีกรณีมีภาระภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง สูงกว่าค่าภาษีโรงเรือนและที่ดินและภาษีบำรุงท้องที่ที่เคยชำระในปี 2562 จะบรรเทาภาระให้โดยเสียภาษีเท่ากับค่าภาษีปี 2562 บวกกับร้อยละ 75 ของส่วนต่างค่าภาษีปี 2565 กับปี 2562
undefined

undefined

2. เสียภาษีเท่าไหร่ คำนวณอย่างไรนะ??

สำหรับวิธีการคำนวณว่า เราจะเสียภาษีที่ดินเท่าไหร่นั้น สามารถแบ่งเป็น 2 สูตรคำนวณได้ดังนี้ค่ะ

1. ที่ดินที่ไม่มีสิ่งปลูกสร้าง

(มูลค่าที่ดิน - มูลค่ายกเว้น ) x อัตราภาษี = ภาษีที่ต้องจ่าย

โดยมูลค่าที่ดิน คือ ราคาประเมินทุนทรัพย์ที่ดิน (ต่อ ตร.ว.) x ขนาดพื้นที่ดินค่ะ

2. ที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง

(มูลค่าที่ดิน + มูลค่าสิ่งปลูกสร้าง – มูลค่ายกเว้น) x อัตราภาษี = ภาษีที่ต้องจ่าย

โดย

  • มูลค่าที่ดิน คือ ราคาประเมินทุนทรัพย์ที่ดิน (ต่อ ตร.ว.) x ขนาดพื้นที่ดิน
  • มูลค่าสิ่งปลูกสร้าง คือ (ราคาประเมินทุนทรัพย์โรงเรือนสิ่งปลูกสร้าง (ต่อ ตร.ม.) x ขนาดพื้นที่สิ่งปลูกสร้าง) - ค่าเสื่อมราคา

⭐มูลค่าที่ดิน สามารถตรวจสอบได้ที่ “กรมธนารักษ์”

⭐มูลค่าสิ่งปลูกสร้าง สามารถตรวจสอบได้ที่กำหนดราคาประเมินทุนทรัพย์โรงเรือนสิ่งปลูก

⭐การหักค่าเสื่อมราคาของสิ่งปลูกสร้าง สามารถตรวจสอบได้ที่ “กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น”

สร้าง

undefined

3. เปลี่ยนที่ดินรกร้างให้เป็นที่ดินเกษตร

เพื่อนๆ คนไหนที่มีที่ดินรกร้าง หรือที่ดินเปล่า ไม่ได้ใช้ประโยชน์ในด้านใดๆ หรือใช้ประกอบกิจการใดๆ เลย จะเป็นกลุ่มที่จะต้องเสียภาษีแพงที่สุดนั่นเองค่ะ

โดยอัตราการจัดเก็บภาษีที่ดินรกร้างว่างเปล่านั้น จะมีกำหนดเพดานภาษีสูงสุดอยู่ที่ 3.00% ค่ะ

  • ที่ดินมูลค่าไม่เกิน 50 ล้านบาท เสียภาษีอัตรา 0.3% หรือล้านละ 3,000 บาท
  • ที่ดินมูลค่า 50 - 200 ล้านบาท เสียภาษีอัตรา 0.4% หรือล้านละ 4,000 บาท
  • ที่ดินมูลค่า 200 – 1,000 ล้านบาท เสียภาษีอัตรา 0.5% หรือล้านละ 5,000 บาท
  • ที่ดินมูลค่า 1,000 – 5,000 ล้านบาท เสียภาษีอัตรา 0.6% หรือล้านละ 6,000 บาท
  • ที่ดินมูลค่า 5,000 ล้านบาท ขึ้นไป เสียภาษีอัตรา 0.7% หรือล้านละ 7,000 บาท

*** จะมีการเก็บภาษี 0.3% เพิ่มทุกๆ 3 ปี หากเจ้าของยังปล่อยที่ดินรกร้าง แต่อัตราภาษีรวมทั้งหมดต้องไม่เกิน 3% ***

ซึ่งทางเลือกที่เหมาะมากๆ เลยก็คือการเปลี่ยนเป็นที่ดินเกษตรค่ะ นอกจากจะเสียภาษีในอัตราที่ถูกลงแล้วนั้น เรายังได้รับผลผลิตเพื่อนำไปจำหน่าย หารายได้เสริมได้อีกทางด้วยค่ะ แต่ต้องดำเนินการตามหลักเกณฑ์ประกาศของกระทรวงการคลังและกระทรวงมหาดไทยนะคะ ซึ่งได้ระบุไว้ว่า

“การประกอบการเกษตรที่เป็นการทำไร่ การปลูกผัก การปลูกไม้ผลยืนต้น การปลูกสวนป่า การปลูกป่าเศรษฐกิจ แบบสวนเฉพาะ หรือการปลูกไม้ผลหรือไม้ยืนต้นแบบสวนผสมที่มีชนิดพืช จะต้องประกอบการเกษตร ให้ได้อัตราขั้นต่ำตามที่กำหนดไว้ จึงจะถือว่าเป็นการใช้ประโยชน์ในการประกอบการเกษตรกรรม”

สำหรับการเปลี่ยนที่ดินรกร้างให้เป็นที่ดินเกษตรนั้นไม่ใช่เรื่องง่ายๆ ค่ะ นอกจากเราจะทำการปลูกพืช หรือ เลี้ยงสัตว์แล้วนั้น อีกหนึ่งสิ่งที่เราจะต้องดำเนินการเลยก็คือ “การขึ้นทะเบียนเกษตรกร” เพื่อยืนยันตัวตนกว่าเรานั้นเป็น ”เกษตรกร” ตัวจริงนั่นเองค่ะ โดยการ “การขึ้นทะเบียนเกษตรกร” นั้นจะทำให้เราได้รับสิทธิการช่วยเหลือ เยียวยาต่างๆ จากภัยพิบัติทางธรรมชาติไม่ว่าจะเป็น น้ำท่วม ฝนแล้ง เป็นต้นค่ะ

และสำหรับการ “การขึ้นทะเบียนเกษตรกร” นั้นเราต้องทำการติดต่อสำนักงานเกษตรอำเภอที่ตั้งของพื้นที่นั้นๆ เพื่อให้เจ้าหน้าที่เข้าไปสำรวจและประเมินเพื่อยืนยันหลักฐานก่อนที่จะทำการ การขึ้นทะเบียนเกษตรกร ค่ะ

จากนั้นเราจะต้องทำการ “ปรับปรุงทะเบียนเกษตรกร” ทุกปีด้วยนะคะ เพราะว่าปกติแล้วนั้นพื้นที่ทางการเกษตรจะมีการเปลี่ยนแปลงพืชผลตามฤดูกาลนั่นเองค่ะ

undefined

4. ตัวอย่างชนิดของพืช และสัตว์

สำหรับเพื่อนๆคนไหนที่ครอบครองที่ดินรกร้างว่างเปล่า หรือ ที่ดินที่ยังไม่ได้ทำประโยชน์นั้น สามารถนำมาปรับเปลี่ยนเป็นพื้นที่เกษตรกรรมได้ค่ะ โดยสามารถปลูกพืช หรือเลี้ยงสัตว์ ตามอัตราขั้นต่ำของการประกอบเกษตรกรรมได้เลยค่ะ

และน้อง Genie ก็ไม่พลาดที่จะรวบรวมมาให้เพื่อนๆ ได้ดูเป็นตัวอย่างไม่ว่าจะเป็นชนิดของพืชทั้ง 51 ชนิด และ ชนิดของสัตว์ทั้ง 9 ชนิดค่ะ ส่วนจะมีอะไรบ้างนั้น มาดูกันเลยค่ะ

  • ชนิดของพืช
undefined

undefined

undefined

undefined

undefined

undefined

  • ชนิดของสัตว์
undefined

undefined

ซึ่งสำหรับเพื่อนๆ คนไหนที่ถือครองที่ดินว่างเปล่าในย่านเศรษฐกิจ ใจกลางกรุงเทพ หรือตามหัวเมืองใหญ่ๆ และไม่ได้ทำประโยชน์อะไรนะคะ หากต้องการนำที่ดินดังกล่าวมาแปลงสภาพที่ดินเพื่อให้เข้าเกณฑ์ “ที่ดินเกษตรกรรม" จะสามารถช่วยลดภาระภาษีที่ต้องจ่ายเพิ่มถึง 10 เท่าเลยค่ะ

โดยอัตราการจัดเก็บภาษีที่ดินเพื่อการเกษตรนั้น จะมีกำหนดเพดานภาษีสูงสุดอยู่ที่ 0.15% ค่ะ

  • ที่ดินมูลค่า 0 – 75 ล้านบาท เสียภาษีอัตรา 0.01% หรือล้านละ 100 บาท
  • ที่ดินมูลค่า 75-100 ล้านบาท เสียภาษีอัตรา 0.03% หรือล้านละ 300 บาท
  • ที่ดินมูลค่า 100 – 500 ล้านบาท เสียภาษีอัตรา 0.05% หรือล้านละ 500 บาท
  • ที่ดินมูลค่า 500 – 1,000 ล้านบาท เสียภาษีอัตรา 0.07% หรือล้านละ 700 บาท
  • ที่ดินมูลค่า 1,000 ล้านบาท ขึ้นไป เสียภาษีอัตรา 0.1% หรือล้านละ 1,000 บาท

*** หากมีการทำเกษตรกรรมไม่เต็มพื้นที่จะเสียภาษีตามสัดส่วนการใช้ประโยชน์ ***

เป็นอย่างไรบ้างคะกับการเปลี่ยนที่ดินรกร้างเป็นที่ดินเกษตรที่นำมาฝากกันในวันนี้ น้อง Genie เองมองว่าหากเรามีที่ดินซึ่งยังตัดสินใจไม่ได้ว่าจะนำไปใช้ประโยชน์ในด้านใด การใช้ปลูกพืชปลูกผักนั้นก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ดีค่ะ เพราะนอกจากที่เราจะได้เสียภาษีในอัตราที่ถูกลงแล้วนั้น เรายังได้ผลผลิตมาใช้เองด้วย และยังสามารถนำไปขายเพื่อนำมาเพิ่มเป็นรายได้ของเราได้อีกหนึ่งช่องทางอีกด้วยค่ะ

แต่อย่างไรก็ตามก่อนที่เพื่อนๆ นั้นจะตัดสินใจควรศึกษาข้อกำหนดของกฎหมาย และข้อกำหนดของการทำเกษตรกรรมให้ดีก่อนนะคะ และน้อง Genie หวังเป็นอย่างยิ่งว่าบทความในวันนี้จะช่วยให้เพื่อนๆได้ตัดสินใจง่ายขึ้นไม่มาก ก็น้อยนะคะ

เพื่อนๆสามารถติดตามและให้กำลังใจทีมงานนักเขียนทุกท่านผ่านการ “กดถูกใจ” ได้ที่ Facebook Fanpage ด้านล่างนี่เลยนะคะ

LINE : @genie-property.com

FACEBOOK : Genie-Property.com

Website : www.genie-property.com

EMAIL : sales@genie-property.com

CALL CENTRE : 093-232-9888,064-931-8666

บทความที่น่าสนใจ

ขอบคุณข้อมูลจาก

Thansettakij

Moneybuffalo

Baanlaesuan