ส่วนกลางคอนโดเสียหาย ใครจ่ายหล่ะนี่?

สร้างเมื่อ Nov 30, 2021

undefined

พื้นที่ส่วนกลางคอนโด อาจเกิดความเสียหายได้ตลอดเวลาไม่ว่าจาก คน อุบัติเหตุและธรรมชาติ เช่น ลูกบ้านใช้งานเครื่องออกกำลังกายผิดวิธี จนทำให้เกิดความเสียหายในทรัพย์สินส่วนกลางของคอนโด น้ำท่วม ไฟไหม้ พายุเข้า เป็นต้น

แน่นอนค่ะว่าหากเกิดจาก การกระทำของคนพิสูจน์ทราบได้ก็มีคนรับผิดชอบจ่ายค่าความเสียหายที่เกิดขึ้น หรือหากกรณีเกิดจากการสึกหรอตามกาลเวลา ทางนิติคอนโดก็สามารถนำเงินค่าส่วนกลางที่เรียกเก็บจากลูกบ้านสำรองไว้มาชำระค่าซ่อมบำรุงภายในโครงการได้อันนี้ก็เข้าใจได้ แต่ที่หลายคนสงสัยนั่นคือ แล้ว ถ้าเวลาที่ส่วนกลางคอนโดเสียหายโดยเกิดจาก สึกหรอกตามกาลเวลา อุบัติเหตุ หรือภัยธรรมชาตินั้น ใครจะเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายตรงส่วนนี้หล่ะ?

วันนี้ Genie จึงรวบรวมข้อมูลดีๆ มาแชร์ให้กับทุกท่านได้ทราบกันค่ะว่า ถ้าเกิดอุบัติเหตุภายในโครงการจนเกิดความเสียหายกับพื้นที่ส่วนกลางคอนโด ใครจะต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่าย ซึ่งรายละเอียดมีอะไรบ้างนั้นไปดูกันเลยค่ะ

เช็คให้ชัวร์ว่า คอนโดมีประกันหรือไม่ ?

โดยส่วนใหญ่ผู้พัฒนาโครงการบ้านและคอนโด จะมีการทำประกันความเสียหายตั้งแต่เริ่มเปิดโครงการ ถึง 5 ปี ค่ะ และเมื่อมีการถ่ายโอนให้คอนโดอยู่ในการดูแลของนิติคอนโดก็จะมีการทำประกันบางส่วน แล้วแต่ข้อตกลง

undefined

คอนโดใหม่ ที่ยังในระยะเวลาที่รับประกันจากโครงการ

โดยทั่วไปจะมีการรับประกันของโครงการอยู่แล้วและคล้ายกับประกันที่ลูกบ้านได้รับ คือ รับประกันทุกอย่าง 1 ปี และรับประกันโครงสร้างอีก 5 ปี พื้นที่ส่วนกลาง รวมไปถึงตัวอาคารอื่นๆ (ทั้งตึกกรณีที่เป็นคอนโด) ซึ่งการรับประกันแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ

  1. รับประกันความเสียหายทุกอย่างภายในโครงการ ตั้งแต่เปิดอาคาร 3 ปีแรก ( ระยะมากน้อยขึ้นอยู่กับข้อตกลงและเงื่อนไขของ Developer )
  2. ซ่อมฟรี 5 ปี รับประกันเฉพาะโครงสร้างที่เสียหาย ได้แก่ ตึกร้าว ถนนโครงการเสียหาย

คอนโด หมดระยะประกันจากโครงการ

โดยปกติก่อนหมดสัญญาทาง Developer และนิติคอนโด จะมีการตกลงกัน ข้อมูลของประกันคอนโดกันค่ะ ว่านิติคอนโดจะทำประกันต่อเพื่อดูแลทรัพย์สินโครงการหรือไม่ ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้วประกันของคอนโดมีอยู่ 2 แผนค่ะ นั่นคือ

  1. All Risks หมายถึง ประกันภัยการเสี่ยงภัยทุกชนิดที่ครอบคลุมทรัพย์สินเกือบทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็น อาคาร ฝ้า ลิฟต์ ผนัง ต้นไม้ ใบหญ้า สระว่ายน้ำ เครื่องจักร อุปกรณ์ต่างๆ รวมถึงงานโครงสร้างทั้งอาคาร แต่ทั้งนี้เฟอร์นิเจอร์ลอยตัว อุปกรณ์ตกแต่งบิวท์อิน ต้องพิจารณาในแผนประกัน
  2. Public Liability หมายถึง ประกันความรับผิดชอบต่อสาธารณชน จะจ่ายเมื่อมีผู้บาดเจ็บ เสียชีวิต หรือได้รับความเสียหายที่เกิดจากพื้นที่ส่วนกลางนั่นเอง แต่หากบ้าน/คอนโด โครงการใดไม่ได้ทำประกันตัวนี้เวลาเกิดเรื่องขึ้นมา ผู้เสียหายสามารถฟ้องร้องได้ และนิติฯ ก็ต้องนำเงินส่วนกลางมาจ่ายให้กับผู้เสียหายแทน
undefined

คอนโดเกินระยะประกัน และไม่ได้ต่อประกัน เสี่ยงนะ!

ไม่ว่าจะเป็นคนที่พึ่งซื้อคอนโดมือหนึ่งและอยู่อาศัยมาเป็นระยะเวลาหลายปี หรือคนที่ซื้อบ้านและคอนโดมือสอง ควรต้องสอบถามเรื่องนี้ด้วยนะคะ เพราะ หากคอนโดไม่มีประกันและไม่ต่อประกันแล้วหล่ะก็ แปลว่า คุณต้องจ่ายค่าซ่อมแซมบำรุงรักษาพื้นที่ส่วนกลางเอง ( เหมือนประกันชีวิตค่ะ ป่วยมาก็ต้องจ่ายค่ารักษาเอง ) ซึ่งทางนิติคอนโด จะต้องนำเงินส่วนกลางที่เก็บสำรองไว้มาเป็นค่าใช้จ่ายค่าซ่อมบำรุงเอาค่ะ แต่ถ้าเกินงบส่วนกลางที่สำรองไว้ ก็จะต้องมีจัดประชุม แจกแจงและเรียกเก็บเพิ่มเติมจากลูกบ้านนั่นเองค่ะ

สรุปแล้วก็คือ ไม่ว่าจะความเสียหายของส่วนกลางคอนโด เกิดขึ้นอันเนื่องมาจาก สึกหรอ อุบัติเหตุหรือธรรมชาติ ก็ต้องดูว่าคอนโดมีประกัน/ ทำประกันไว้หรือไม่ ครอบคลุมอะไรบ้างค่ะ

หากคอนโดยังไม่หมดสัญญาประกัน Developer ก็ต้องเป็นผู้รับผิดชอบ แต่ถ้าหมดระยะประกันกับ Developer แล้วและโอนให้ นิติฯ มาเป็นผู้ดูแล ก็ต้องเป็นเชคว่าทางนิตคอนโดเขาต่อประกันไว้หรือไม่ และหากคอนโดไม่ได้ต่อประกัน นิติฯมีเงินสำรองพอหรือเปล่า ( ถ้าเงินไม่พอ ลูกบ้านถูกเรียกเก็บเพิ่มค่ะ )

undefined

สำหรับเจ้าของห้องชุดไม่ว่าจะอยู่เอง/ ที่ปล่อยเช่าคอนโด Genie แนะนำว่าควรจะต้องทำประกันคอนโดห้องของตัวเองเอาไว้ด้วยจะดีที่สุดค่ะ เพราะถึงแม้ว่าโครงการจะมีการทำประกันไว้อยู่แล้วแต่อาจจะไม่ครอบคลุมทั้งหมดนะคะ แถมเวลาได้รับเงินชดเชยนั้นอาจไม่ได้รับเงินชดเชยเต็มเม็ดเต็มหน่วย ยิ่งกรณีเป็นห้องที่ปล่อยเช่า คนเช่าเขาอาจจะได้รักห้องอย่างที่เรารัก จึงควรทำประกันห้องเองติดมือไว้ค่ะและสิ่งที่ควรพิจารณาทำประกันมี 2 เรื่องหลัก นั่นคือ

  1. การทำประกันอัคคีภัย
  2. การทำประกันภัยบุคคลที่ 3

การทำประกันอัคคีภัย

เป็นการคุ้มครองทรัพย์สินส่วนตัวภายในห้องของคุณ เพราะหากเกิดกรณีที่มีเพลิงไหม้คุณยังมีเงินประกันมาชดใช้ความเสียหายและนำมาซ่อมแซมห้องได้นั่นเอง

การทำประกันภัยบุคคลที่ 3

เป็นการคุ้มครองชีวิตและความเสียหายอันเกิดจากอุบัติเหตุห้องของคุณเองค่ะ ถึงแม้ว่าโครงการคอนโดมิเนียมหรือนิติบุคคลจะทำประกันภัยประเภทนี้ไว้แล้วก็ตาม แต่เจ้าของห้องคอนโดควรทำประกันนี้ไว้ ถือว่าเป็นเตรียมพร้อมไว้ดีกว่าแก้ค่ะ และเวลาจริงคุณจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบต่อค่าเสียหายเอง โดยเฉพาะภัยบางอย่างที่ไม่เกี่ยวข้องกับส่วนกลางคอนโด เช่น ไฟไหม้ในห้องครัวลุกลามไปห้องข้างเคียง , ตกแต่งห้องแล้วเกิดความเสียหาย กระทบกับห้องข้างเคียง , ทำให้เกิดน้ำรั่วซึมลงห้องด้านล่างจนเฟอร์นิเจอร์ ทรัพย์สินเพื่อนบ้านชำรุดเสียหายจำนวนมาก เป็นต้น

สุดท้ายแล้ว Genie คิดว่า การเลือกซื้อคอนโดที่ใช้วัสดุในการก่อสร้างที่มีมาตรฐานคุณภาพดี ช่วยลดความกังวลใจไปได้ในระดับนึง เพราะอุบัติเหตุ ภัยธรรมชาติ เป็นสิ่งที่เราไม่สามารถคาดการณ์ล่วงหน้าได้ว่าจะเกิดขึ้นกับคอนโดของท่านหรือไม่ และถ้าเกิดขึ้นมาแล้วลูกบ้านต้องมารับผิดชอบร่วมกัน เพราะนิติฯไม่ทำประกันความเสี่ยงไว้เลย นับว่าเป็นเรื่องที่เสี่ยงอยู่เหมือนกันนะคะ ร้อนๆ หนาวๆ เพราะไม่รู้เลยว่าจะต้องถูกเรียกเก็บเงินอีกเท่าไหร่ ตอนไหน ดังนั้น ก่อนตัดสินใจซื้อคอนโด ก็ควรเชคข้อมูลให้ดีว่าโครงการทำประกันส่วนกลางคอนโดด้วยหรือไม่ รายละเอียดเป็นอย่างไร และอีกหนึ่งสิ่งที่สำคัญคือ ควรทำประกันห้องเองกันเหนียวไว้ด้วยก็ยิ่งช่วยอุ่นใจได้อีกขั้นนะคะ ^^